เมนูเพื่อสุขภาพ: ลาบปลาดุก

เมนูในวันนี้เราจะลองมาทางฝั่งอาหารอีสานกันบ้างนะคะ ตัวเมนูลาบปลาดุกจะประกอบด้วยเนื้อปลาดุกย่างพร้อมกับสมุนไพรพื้นถิ่นที่มีฤทธิ์ในการต้านอักเสบ และตัวเนื้อปลาดุกเองก็เป็นปลาน้ำจืดที่มีโอเมก้า 3 ปริมาณสูงในราคาที่ต่ำอีกทั้งเนื้อปลายังเป็นเนื้อสัตว์ที่ไม่ก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังภายในร่างกายของเราด้วยค่ะ

สำหรับคุณผู้รักสุขภาพที่ไม่ต้องการรับประทานเนื้อสัตว์เลย ก็สามารถใช้เทมเป้ เต้าหู้ หรือโปรตีนทดแทนอื่น ๆ ทดแทนได้เช่นกันค่ะ โดยก็จะได้รสสัมผัสที่ต่างกันออกไปด้วย

ส่วนประกอบในการทำลาบปลาดุก

เนื้อปลาดุกย่าง 2 ตัว | ตะไคร้ 2 ต้น | *น้ำเมล็ดชา | น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ | น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ | ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ | พริกขี้หนูป่น | หอมแดง | ต้นหอม | ผักชีฝรั่ง | พริกแห้ง | ใบสะระแหน่ | น้ำตาลทรายแดง 1 ช้อนชา

* สำหรับคุณผู้รักสุขภาพที่มีเวลาและเตาสามารถใช้การย่างเตาถ่านหรืออบแทนการทอดได้ก็จะดีกับสุขภาพมากขึ้นและไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันสำหรับเมนูนี้เลยค่ะ

** น้ำตาลทรายแดงสามารถทดแทนด้วยน้ำตาลหญ้าหวานหรือเลือกไม่ใส่เลยก็ได้ค่ะ แต่ห้ามใช้น้ำตาลทรายขาวแทนเด็ดขาด เพราะเป็นน้ำตาลที่ผ่านการขัดสีมาแล้ว

ขั้นตอนการทำลายปลาดุก

นำเนื้อปลาดุกย่างและตะไคร้สับคลุกรวมกันแล้วเป็นก้อน

ขั้นตอนนี้โดยการทำลาบปลาดุกส่วนใหญ่จะเป็นการนำไปทอด ซึ่งการใช้น้ำมันเมล็ดชาเป็นตัวเลือกที่ดีกับสุขภาพมากและหากต้องการให้เป็นเมนูเพื่อสุขภาพมากขึ้นและดั้งเดิมมากขึ้นก็คือการนำไปย่างบนเตาถ่านแทน แต่หากไม่มีเตาถ่านก็สามารถอบแทนได้ค่ะ

ทำน้ำปรุงรสด้วยการผสมน้ำปลา น้ำมะนาว ข้าวคั่ว และพริกขี้หนูป่นเข้าด้วยกัน โรยด้วยหอมแดงซอย ต้นหอมซอย ผักชีฝรั่ง พริกแห้ง ใบสะระแหน่ น้ำตาลทรายแดง

นำปลาดุกย่างที่เราเตรียมไว้คลุกกับน้ำปรุงรสที่เพิ่งทำเสร็จ คลุกให้เข้ากัน จากนั้นก็จัดเสิร์ฟได้เลยค่ะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments