การสื่อสารเติมรักให้ครอบครัว
สุขภาพใจก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้สุขภาพกายนะคะ ซึ่งในครั้งนี้เราจะเน้นกันที่วิธีเสริมสร้างสุขภาพใจสำหรับผู้ที่มีครอบครัวแล้วด้วยการสื่อสารกับคนในครอบครัวกันค่ะ
การสื่อสารประกอบด้วยการพูดและการฟัง โดยเฉพาะการฟังในความเชื่อว่าเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สามารถให้กับใครได้โดยตั้งใจ
ในด้านของสมองเมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ การจะเปลี่ยนวิธีในการคิดต่าง ๆ ที่ถูกสร้างกระบวนการของสมองมาเป็นเวลานานนั้นทำได้ยาก แต่การที่เป็นผู้ฟังอย่างตั้งใจและไม่ตัดสินเป็นหนึ่งข้อสันนิษฐานว่าผู้ฟังสามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยเฉพาะผู้ฟังที่มีความสัมพันธ์กับผู้พูดอย่างใกล้ชิด
ครอบครัวที่มีบุตรสองคนขึ้นไปมักจะมีปัญหาเรื่องการทะเลาะกันของลูก ซึ่งการสื่อสารจะมีความสำคัญมาก ๆ ในการจัดการเรื่องที่เกิดขึ้นนี้ โดยสามารถเริ่มตั้งที่ที่ลูกยังเด็กได้เลย โดยคำแนะนำจากหนูดีบอกกับเราว่า การที่มีลูกสองคนขึ้นไปไม่ต้องต้องบอกให้ลูกคนโตเสียสละให้น้องคนเล็ก และเมื่อลูกคนโตเกิดการทะเลาะกับลูกคนเล็กในขณะที่ลูกคนเล็กยังเด็กมาก ๆ อยู่นั้นก็ห้ามเข้าข้างลูกคนเล็ก เนื่องจากว่าน้องคนเล็กที่อายุประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี ยังไม่สามารถจำเหตุการณ์ได้แต่ลูกคนโตจะจำเหตุการณ์นั้นได้เพื่อให้ลูกคนโตไม่เกิดความรู้สึกถูกแย่งความรักจากลูกคนเล็ก
พฤติกรรมของลูกคนโตที่อาจบ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่สั่นคลอน
ลูกคนโตบาสงคนเมื่อมีสมาชิกเพิ่มเข้ามาในครอบครัว อาจจะมีอาการกลับมาฉี่รดที่นอนหรือมีพฤติกรรมถดถอยอื่น ๆ โดยอาจมีสาเหตุมาจากการเข้าใจว่าเมื่อน้องคนเล็กทำแล้วได้ความมรักจากแม่ก็เลยทำแบบเดียวกัน
การถาม
การฟังและการถามมักจะเกิดขึ้นควบคู่กันในขณะที่มีการสนทนา ซึ่งในบางเหตุการณ์ที่เราอยู่ในฐานะผู้รับฟังปัญหา เราไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาใด ๆ เลย และผู้พูดก็อาจจะไม่ได้มีความต้องการให้ผู้ฟังแก้ปัญหาใด ๆ เลยเช่นกัน ซึ่งการมีผู้ฟังอย่างตั้งใจก็เป็นความความต้องการอย่างหนึ่งของผู้พูดแล้ว