เมื่อ “ระบบเผาผลาญพัง” ต้องทำอย่างไร
วันนี้นกได้รับเกียรติจากนายแพทย์เสฏวุฒิ งามเมธิชัยวงศ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยอีกเช่นเคยที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับการเผาผลาญในร่างกายของเรา จากครั้งที่แล้วในบทความ “ทำไมลดหน้ำหนักไม่ได้ ทั้งที่ตั้งใจควบคุมน้ำหนัก” ครั้งนี้เราจะมารู้จักกับวิธีการที่จะทำให้ระบบเผาผลาญของเรากลับมาทำงานได้ดีขึ้นเพื่อให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักได้
ระบบการเผาผลาญที่ดีหมายถึงการที่ร่างกายของเรารับพลังงานจากอาหารที่เรารับประทานเข้ามาแล้วสามารถนำไปใช้ได้หมด
ระบบการเผาผลาญในร่างกายเป็นสิ่งที่ควบคุมการสะสมไขมันและน้ำหนักในร่างกาย ซึ่งกระบวนการเผาผลาญ (Metabolism) หมายถึงการที่เราได้รับอาหารเข้ามาแล้วร่างกายของเรามีกระบวนกรย่อยและนำไปไปใช้เพื่อเป็นพลังงานให้กับเซลล์
รู้ได้อย่างไรว่าระบบเผาผลาญของเรายังทำงานได้ดี
คนที่เริ่มมีระบบเผาผลาญที่ไม่ดีจะมีอาการเหนื่อยล้าอ่อนเพลียเป็นสัญญาณเตือนในระยะเริ่มแรก เนื่องจากเซลล์ไม่สามารถผลิตพลังงานในรูปแบบ ATP ได้ (ATP: Adenosin Triphosphate) ซึ่งหมายความว่าเราไม่สามารถนำสารอาหารเพื่อให้ร่างกายสามารถใช้งานได้
ระยะที่สองคือน้ำหนักตัวจะไม่ลดลงทั้ง ๆ ที่กินเหมือนเดิม ออกกำลังกายเหมือนเดิม ใช้ชีวิตเหมือนเดิม แต่น้ำหนักตัวกลับเริ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ทั้งสองอาการนี้จะเป็นสิ่งง่าย ๆ ที่เราสามารถสังเกตุตัวเองได้ว่าระบบเผาผลาญของเรายังทำงานปกติดีหรือไม่ ซึ่งหากต้องการความชัดเจนต้องทำการตรวจเพื่อวัดผล
ทำอย่างไรเมื่อระบบเผาผลาญพัง
เมื่อเรามีผลการตรวจชัดเจนแล้วว่าระบบเผาผลาญของเราไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ เราจะต้องดูที่สาเหตุที่ทำให้การเผาผลาญของเราต่ำลง ส่วนไหนของระบบเผาผลาญที่ผิดปกติ
แก้ไขฮอร์โมนที่มีปัญหา
บางคนอาจจะมีปัญหาเรื่องของฮอร์โมนที่เกี่ยวกับการควบคุมน้ำหนัก ซึ่งหากฮอร์โมนตัวไหนมีปัญหาก็ต้องแก้ที่ฮอร์โมนนั้น
ปรับพฤติกรรมการบริโภค
เริ่มเปลี่ยนอาหารที่เรารับประทาน เน้นอาหารที่มาจากธรรมชาติไม่ผ่านการเปลี่ยนรูปมากขึ้น เพิ่มโปรตีนเพื่อให้ระบบเผาผลาญของเราทำงานได้ดีขึ้น
นอกจากเรื่องความอ้วนความผอมแล้ว กระบวนการเผาผลาญยังเกี่ยวเนื่องถึงความฉับไวของสมอง ความอ่อนเยาว์ของร่างกาย และสัมพันธ์กันทั้งระบบการทำงานของร่างกาย