ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับคลอเลสเตอรอล

ทฤษฎีคลอเลสเตอรอลเป็นทฤษฎีที่ตายแล้วหรือยัง มันเป็นทฤษฎีที่หลงโลกจนอาจจะกลายเป็นทฤษฎีลวงโลกไปได้อย่างไร เรามาหาคำตอบของเรื่องนี้กับคุณหมอรัตนพันธุ์ อินเจริญศักดิ์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำบอลลูนที่อยู่กับโรคหลอดเลือดและหัวใจตลอดชีวิตการทำงาน

รู้จักกับคอเลสเตอรอลให้มากขึ้น

มนุษย์เราค้นพบคอเลสเตอรอลเมื่อประมาณ 200 กว่าปีที่แล้วจากก้อนนิ้วในถุงน้ำดี ซึ่งที่มาของชื่อคอเลสเตอรอลก็คือ น้ำดี+ของแข็ง (Cholesterol = Chole + Stereos) โดยหมายถึงน้ำดีที่เป็นของแข็งที่อยู่ในถุงน้ำดี

คอเลสเตอรอลจะจับกับโปรตีนในร่างกายที่รู้จักกันมากอย่างในชื่อ HDL และ LDL เนื่องจากคลอเลสเตอรอลไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวได้ภายในร่างกาย

ทฤษฎีคลอเลสเตอรอลกับโรคหัวใจ

ประมาณ 200 กว่าปีที่แล้วมีนายแพทย์ Nicolai Anischkov (Dr.Nicolai Anischkov 1913) ทำการทดลองป้อนคอเลสเตอรอลให้กับกระต่ายกินเป็นประจำ พบว่ากระต่ายมีหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เกิดการตีพิมพ์นี้สู่วารสารทางการแพทย์ของเยอรมันในยุคนั้น แต่ยังไม่ได้รับการยอมรับอยู่มาก

ในปีคริสตศักราช 1939 Dr.Carl Muller รายงานว่าคนไข้หลายครอบครัวที่มีคอเลสเตอรอลสูงเสียชีวติจากโรคหัวใจขณะที่ยังอายุน้อย ทำให้เป็นข้อพิสูจน์การตีพิมพ์ของ Dr.Nicolai Anischkov และมีการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นว่าคอเลสเตอรอลมีผลเกี่ยวกับหลอดเลือด

ปีคริสตศักราช 1961 สมาคมแพทย์อเมริกัน (American Heart Association) มีการออกประกาศแนะนำเป็นครั้งแรกว่าการรับประทานไขมันทำให้เกิดโรคหัวใจ ซึ่งการประกาศนี้มีอิทธิพลต่อแพทย์ทั่วโลก

ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับคลอเลสเตอรอล

ในทฤษฎีใหม่นี้มีการแย้งว่าการที่หลอดเลือดแข็งตัวนี้เกิดจากการอักเสบที่ผนังของหลอดเลือดแดงเอง ซึ่งเมื่อมีทฤษฎีใหม่ออกมาหักล้างสิ่งที่สมาคมแพทย์ออกมาประกาศก็แน่นอนว่าไม่เป็นที่ยอมรับกันในช่วงเวลาแรกที่ทฤษฎีนี้ออกมา

ในหลอดเลือดแดงที่นำมาศึกษาพบว่ามีสารคัดหลั่ง เซลล์เม็ดเลือดขาว และสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบจำนวนมากในผนังหลอดเลือด

จากภาพด้านบนเราจะเห็นว่าถึงแม้เราจะลดไขมันแล้วเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายด้วยอาหารประเภทอื่นก็ไม่ได้ช่วยให้เราเส่ยงกับการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดน้อยลงเลยหรือถึงขั้นอาจจะมีโอกาสเกิดมากขึ้นด้วย

การที่มีคอเลสเตอรอลสูงในระดับหนึ่งนั้นอาจจะมาจากพันธุกรรมแ ซึ่งหากคอลเลสเตอรอลอยู่ในระดับที่สองแต่ไม่ส่งผลกับหลอดเลือดเราก็สามารถเลือกที่จะไม่รับประทานยาได้โดยการเข้าพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแทน แต่หากคอเลสเตอรอลที่สูงมากเกินไปแพทย์ก็จำเป็นต้องให้ใช้ยาเพื่อลดระดับคลอเลสเตอรอลในลง

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments