ไขมันแทรกตับ มหันตภัยร้ายที่คร่าชีวิตได้

สมาคมแพทย์โรคตับสหภาพยุโรปมีการจัดประชุมเกี่ยวกับเรื่องไขมันพอกตับ เนื่องจากเรื่องของตับเป็นเรื่องใหญ่ โดยการเกิดไขมันพอกตับนั้นเกิดจากการที่เซลล์ตับกินพลังงานมากเกินไป

สาเหตุการเกิดไขมันพอกตับ

ปกติร่างกายของคนไทยเราควรได้รับพลังงานวันละ 2,000 กิโลแคลลอรี แต่การใช้ชีวิตในปัจุบันนั้นเราจะรับประทานอาหารมากกว่าที่เราใช้พลังงาน ทำให้เกิดการสะสมในรูปของคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอร์ไรด์ โดยเฉพาะไตรกลีเซอร์ไรด์จะไปฝังตัวที่เซลล์ตับ

เมื่อเซลล์ตับมีการฝังตัวของไตรกลีเซอร์ไรด์สูง ก็จะเกิดการแตกและทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุที่จะทำให้พัฒนาเป็นไขมันพอกตับ และอาจจะเกิดเป็นตับอักเสบและตับแข็งรวมถึงมะเร็งตับได้

ใครที่ต้องระวังเกี่ยวกับไขมันพอกตับ

เรื่องของไขมันสูงคงหนีไม่พ้นคนที่มีภาวะอ้วนค่ะ โดยการอ้วนไม่ใช่ของคนที่รู้สึกว่าอ้วยนะคะ เราเคยวัดกันจากดัชนีมวลกายแต่ตอนนี้เราวัดกันที่เส้นรอบเอวที่ไม่ควรเกิน 103 – 118 และนอกจากผู้ที่มีปัญหาอ้วนหรือน้ำหนักเกินก็คือผู้ที่เป็นเบาหวาน ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ รับประทานอาหารที่มีฟรุกโตสสูง หรือแม้กระทั่งการรับประทานผลไม้บางชนิดที่ค่าดัชนีน้ำตาลสูง (Glycemic Index)

ระยะของการเป็นไขมันพอกตับ

ระยะอาการของการเป็นไขมันพอตับมีทั้งหมด 4 ระยะคือ

ระยะแรก – ในระยะแรกจะมีการเริ่มแทรกของไขมันในชั้นเนื้อตับแต่ยังไม่เกิดการอักเสบขึ้นในตับ

ระยะที่สอง – จะเริ่มเกิดผังผืดขึ้นที่ตับ เริ่มมีการอักเสบเกิดขึ้นที่ตับแล้ว โดยในระยะนี้หากไม่มีการควบคุมดูแลให้ดีและปล่อยให้มีการอักเสบอยู่เรื่อย ๆ เกินกว่า 6 เดือนอาจจะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้

ระยะที่สาม – เกิดการอักเสบรุนแรงในตับและเซลล์ตับค่อย ๆ ถูกทำลายลง

ระยะสุดท้าย – ในระยะสุดท้ายตับผู้ผู้ที่มีไขมันพอกตับจะกลายเป็นตับแข็งไปแล้วและไม่สามารถทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป

การตรวจไขมันพอกตับ

การวินิจฉัยโรคไขมันพอกตับนั้นจะมีทั้งการตรวจเลือด การอัลตราซาวด์ การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การเจาะตรวจชิ้นเนื้อ การใช้เครื่อง Fibroscam โดยการตรวจเลือดอย่างเดียวนั้นอาจบอกไม่ได้ว่าเป็นไขมันพอกตับหรือไม่ทำให้ต้องใช้วิธีการตรวจอื่น ๆ เพิ่มเข้ามา ซึ่งการทำ Fibroscan นั้นจะให้ผลที่ชัดเจนที่สุด

การรักษาไขมันพอกตับ

เหนือสิ่งอื่นใดสำหรับการรักษาไขมันพอกตับคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้มีสุขภาพดี มีการออกกำลังกายติดต่อกันอย่างน้อย 30 นาที


ไขมันพอกตับนั้นเป็นสาเหตุของตับแข็งและมะเร็งตับ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้เพียงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการกินและการออกกำลังกาย การควบคุมอาหาร การควบคุมน้ำหนักเท่านี้เองค่ะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments