มีโลหะหนักตกค้างอยู่ในร่างกายหรือไม่

ปัจจุบันพบว่าการที่มีโลหะนักตกค้างอยู่ในร่างกายเป็นอันตรายมาก ซึ่งหากไม่มีการตรวจโลหะหนักที่มีอยู่ในร่างกายแต่มีการสะสมของโลหะหนักในร่างกายจำนวนมากก็จะมีผลกับการทำงานของระบบร่างกาย โดยเฉพาะสมองหรืแม้กระทั่งการเกิดลำไส้รั่วซึมก็สามารถเกิดจากการสะสมของโลหะหนักภายในร่างกายได้

โลหะหนักคืออะไร

ชื่อ “โลหะหนัก” เป็นโลหะที่มีความหนาแน่นไม่น้อยกว่า 5 เท่าซึ่งมีความถ่วงจำเพาะตั้งแต่ 5 ขึ้นไป โดยโลหะหนักที่มีการพบบ่อยในร่างกายและทำลายระบบต่าง ๆ ก็มี ตะกั่ว ปรอท สารหนู แคดเมียม โคบอลต์

โลหะหนักแต่ละชนิดที่มีการสะสมในร่างกายก็จะมีการทำลายระบบต่าง ๆ ที่แตกต่างกันออกไป โดยร่างกายของเราสามารถมีโลหะหนักได้มากกว่า 1 ชนิดและเกิดความเสียหายในระบบต่าง ๆ ของร่างกายได้มากกว่า 1 ระบบ โดยเราสามารถรับโลหะหนักเหล่านี้ได้จากหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นการกินหรือการตกแต่งร่างกาย อย่างการใช้งานลิปติกหรือยาทาเล็บที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนักก็สามารถทำให้โลหะหนักเข้าสู่ร่างกายของเราได้ รวมถึงการใช้ชีวิตในบริเวณที่อากาศมีการปนเปื้อนของโลหะหนักก็จะทำให้เกิดการสะสมของโลหะหนักเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในร่างกายของเรา

พิษของโลหะหนัก

โลหะหนักแต่ละประเภทก็มีผลกับการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายต่างกันออกไป นกจะขอยกตัวอย่างพิษที่เกิดจากการสะสมโลหะหนักในร่างกายที่เกิดขึ้นบ่อยทั้ง 11 ข้อนี้

ขัดขวางการดูดซึมแ่ธาตุที่จำเป็นของร่างกาย

เมื่อมีการสะสมของโลหะหนักบางชนิดจะทำให้ระบการดูซึมแร่ธาตุที่จำเป็นของร่างกายเราไม่สามารถทำงานได้ปกดิ

เพิ่มการสร้างอนุมูลอิสระ

ปกติร่างกายของเราก็มีการสร้างอนุมูลอิสระออกมาตลอดอยู่แล้วในปริมาณที่ร่างกายสามารถกำจัดได้ แต่โลหะหนักจะเพิ่มการเกิดของอนุมูลอิสระให้อยู่ในระดับที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดได้หมด ซึ่งก็จะทำให้เกิดความชราที่ไวขึ้น หรือถึงขั้นเกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา

ลดระดับการต้านอนุมูลอิสระ

นอกจากการเพิ่มอนุมูลอิสระให้กับร่างกายของเราแล้ว โลหะหนักยังทำให้ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของร่างกายลดลง

ทำลายผนังเซลล์เม็ดเลือดแดง

โลหะหนักนั้นสามารถทำลายผลังของเซลล์ในร่างกายลงได้ โดยเฉพาะการทำลายผนังของเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนของเม็ดเลือดแดงไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลดลงอย่ามาก

ผนังเซลล์หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น

เมื่อเกิดการตกค้างของโลหะหนักที่ผนังหลอดเลือด จะทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น ส่งผลให้เกิดภาวะความดันขึ้นมา รวมถึงโรคหัวใจ หลอดเลือดในสมอง เนื่องจากไม่สามารถรองรับการสูงฉีดของเลือดในปริมาณที่สูงได้

ขัดขวางตัวรับฮอร์โมน

ร่างกายของเราจะต้องทำงานร่วมกับระบบฮอร์โมนต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่หากมีการสะสมของโลหะหนักในร่างกายบางชนิด ก็จะทำให้ความสมดุลของฮอร์โมนนั้นเปลี่ยนไป เกิดเป็นอาการต่าง ๆ ที่แสดงออกมาทางร่างกาย

ภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง

สำหรับผู้ที่เป็นภูมิแพ้อยู่เดิมหรือร่างกายแพ้ง่ายอยู่แล้วก็อาจจะตรวจให้แน่ใจว่าอาการแพ้ที่เกิดขึ้นกับเราไม่ได้เกิดจากการสะสมของโลหะหนักที่มากขึ้นภายในร่างกาย ส่วนผู้ที่เพิ่งสังเกตุว่าภูมิคุ้มกันของเราต่ำลงก็ควรจะเข้ารับการตรวจเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เกิดจากการสะสมของโลหะหนักนะคะ แต่หากพบว่าเกิดจากการสะสมของโลหะหนักก็จะสามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาได้

เกิดการแทนที่ของแคลเซียมในร่างกาย

โลหะหนักอยางเช่นตะกั่วจะเข้าไปแทนที่แคลเซียมตามโครงสร้างหลักของร่างกายที่มีแคลเซียมอย่างเช่นกระดูก และเมื่อแคลเซียมไม่สามารถเข้าไปในกระดูกได้ก็จะเกิดการเปราะและหักได้

โลหะหนักผ่านรกได้ง่าย

คุณผู้หญิงที่กำลังจะเป็นคุณแม่ที่ไม่ทราบว่าตัวเองมีการสะสมของโลหะหนักในปริมาณที่สูงก็จะทำให้โลหะหนักส่งผลกับพัฒนาการทางสมองของลูกได้สูงมาก เด็กที่เกิดขึ้นมาก็จะมีพัฒนาการทางสมองที่ผิดปรกติได้

ยับยั้งการทำงานของ DNA/RNA

โลหะหนักสามารถยับยั้งการทำงานของทั้ง DNA และ RNA ส่งผลในเรื่องการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมานั้นไม่สามารถเป็นไปได้อย่างปกติ

DNA – https://pixabay.com/illustrations/1903875/

อาการที่เกิดจากการรับโลหะหนักนั้นมีอยู่ 2 ลักษณะคืออาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันอย่างเช่นการเิดภูมิแพ้ อีกลักษณะอาการคืออาการระยะยาวที่จะเกิดอาการเรื้อรังและค่อย ๆ ส่งผลในภายหลัง ซึ่งหากเราอยากรู้ว่าปริมาณโ,หะหนักในร่างกายของเรามีมากหรือน้อยแค่ไหน เราจำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวัดค่ะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments