กินไก่มาก เป็นโรคเกาต์จริงหรือไม่

เมื่อเป็นโรคเกาต์ก็จะถูกห้ามไม่ให้กินไก่ สำหรับคนที่ไม่ชอบรับประทานไก่อยู่แล้วก็คงไม่ใช่เรื่องยากอะไร แต่ไก่มักจะมาหลอกหลอนเราในหลากหลายช่องทางสื่อซึ่งอาจจะทำให้หลายท่านนั้นอดใจไม่ไหว ฉะนั้นครั้งนี้เราจะมาหาคำตอบกันว่าเมื่อเป็นเกาต์แล้วเรายังสามารถกินไก่ได้หรือไม่ มีแค่ไก่เท่านั้นหรือที่เราห้ามกิน ที่สำคัญกว่านั้นคือการกินไก่มาก ๆ จะทำให้เราเป็นเกาต์หรือไม่

สาเหตุของโรคเกาต์

สาเหตุของโรคเกาต์เกิดจากการมีกรดยูริกอยู่ในเลือดในปริมาณที่สูงมาก ๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดการตกตะกอน ซึ่งกรดยูริกที่ตกตะกอนทำให้เกิดอาการข้ออักเสบ

โรคเกาต์สามารถรักษาให้หายได้

โรคเกาต์สามารถรักษาให้หายได้ โดยโรคเกาต์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ

(1) ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน

ระยะข้ออักเสบเฉียบพลันตามข้อเท้าหรือข้อต่าง ๆ โดยหากเราไม่ได้ทำการรักษาใด ๆ อาการจะสามารถหายได้เองใน 5 – 7 วัน

(2) ระยะไม่มีอาการ

หลังจากที่อาการข้ออักเสบเฉียบพลันหายไปแล้วก็จะไม่มีอาการเหมือนคนปกติทั่วไป

(3) ระยะอักเสบเรื้อรัง

เกาต์ในระยะอักเสบเรื้อรังจะมีการปวดเป็นระยะเวลายาวนาน 3 – 5 ปี โดยความเจ็บปวดและจุดต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากโรคเกาต์ในระยะนี้จะมีมากขึ้นกว่าระยะอักเสบเฉียบพลัน

กรดยูริกคืออะไร

กรดยูริก (Uric Acid) เป็นกรดที่ร่างกายสามารถสร้างขึ้นมาได้เอง และสามารถมาจากอาหารแต่ปกติจะได้รับจากอาหารไม่ถึง 20% ของปริมาณกรดยูริกทั้งหมด โดยหากในร่างกายของผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนมีกรดยูริกเกิน 7 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรจะจัดว่ามีกรดยูริกในปริมาณสูง

แต่ในผู้หญิงช่วงวัยที่ยังมีประจำเดือนหากมีปริมาณยูริกเกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรก็ถือว่ามียูริกในปริมาณที่สูง

อาหารที่มียูริกสูง

สัตว์ปีก – สัตว์ปีกทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นไก่ เป็ด ห่าน หรือนก ล้วนมียูริกในปริมาณสูง ยอดของผัก – ยอดมะพร้าว ยอดอ่อนทานตะวัน ยอดกระถิน แม้กระทั่งหน่อไม้หรือถั่วงอกก็เป็นอาหารที่มีกรดยูริกสูง นอกจากนี้เครื่องในสัตว์ อาหารทะเล และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ก็เป็นสิ่งที่มียูริกสูงทั้งนั้น

เราไม่ควรรับประทานอาหาร / สัตว์ปีกที่มียูริกสูอย่างนั้นหรือ

หากครอบครัวเครือญาติของเราเคยมีสมาชิกเป็นเกาต์มาก่อนก็จำเป็นต้องมีความระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีผลกับยูริกภายในร่างกาย แต่ก็ยังสามารถรับประทานได้ในปริมาณที่น้อย

ถึงแม้ว่าการตรวจเลือดของเราจะมีผลออกมาว่ามีกรดยูริกสูงเราก็ยังสามารถรับประทานอาหารเหล่านี้ได้ประมาณสัปดาห์ละ 2 – 3 ครั้ง แต่ถึงจะสามารถรับประทานได้ก็ควรเลือกส่วนที่รับประทานเพื่อให้ปริมาณรูยิกในเลือดเพิ่มึ้นน้อยที่สุด

สำหรับใครที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเกาต์ ก็สามารถรับประทานในปริมาณปกติได้

เมื่อเป็นโรคเกาต์แล้ว

สำหรับคนที่เป็นโรคเกาต์แล้วหรือมีอาการก่อนอื่นเลยต้องพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ พยายามไปตามที่หมอนัด และที่สำคัญคือห้ามหยุดกินยาเองโดยพลการพร้อมกับหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ระดับของกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นอย่างในรายการข้างต้น


กับสิ่งที่เราถกกันมาในข้างต้นว่าเป็นเกาต์สามารถกินไก่ได้หรือไม่ ก็สามารถรับประทานได้ในปริมาณที่น้อย ไม่เกิน 2 – 3 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่สำหรับคนที่มีความเสี่ยงในการเป็นเกาต์ก็พยายามหลีกเลี่ยงให้ได้จะดีกว่านะคะ และแวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments