ทำความรู้จักกับไขมันดีและไขมันเลว

เรื่องของไขมันหากได้ยินแล้วหลายคนก็อาจจะตกใจ แต่ไม่ต้องเป็นกังวลกันนะคะ เพราะว่าไขมันนั้นมีทั้งที่ดีและไม่ดีกับร่างกาย

ไขมันคือสารประกอบหลายชนิดที่มีลักษณะร่าวมกัน มีส่วนประกอบทางเคมีแค่ 3 อย่างคือคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเท่านั้น แต่เมื่อมีการเรียงของโมเลกุลที่ต่างกันออกไปก็ทำให้มีไขมันอยู่หลายประเภท

ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat)

ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่….. ได้แก่ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fat)

ได้แก่น้ำมันมะกอก

ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fat)

ได้แก่ โอเมก้า 3, โอเมก้า 6, น้ำมันถั่วเหลือ, น้ำมันดอกทานตะวัน

ไขมันดี (Good Fat)

ไขมันดี (Good Fat) เป็นไขมันที่ไม่ผ่านกระบวนการอะไรมาหรือเป็นไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โดยไขมันดีเป็นไขมันที่จำเป็นกับร่างกาย ทำให้ร่างกายของเรามีสุขภาพที่ดี

ตัวอย่างไขมันดีก็ได้แก่ ไขมันโอเมก้า 3 และไขมันโอเมก้า 6 โดยการรับประทานไขมันโอเมก้า 3 คู่กับไขมันโอเมก้า 6 นั้น จะต้องรับประทานในอัตราส่วน 1:3

ปรมาณ 20 ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมการบริโภคของประชากรโลกเปลี่ยนไป ทำให้ได้รับโอเมก้า 3 เพียง 1 ส่วน แต่กลับได้รับโอเมก้า 6 ในอัตราส่วน 10 – 20 ส่วน ซึ่งการรับประทานโอเมก้า 6 ในปริมาณที่มากเกินไปก็จะทำให้เกิดโรคตามมาโดยเฉพาะโรคหัวใจและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด ฉะนั้นการปรับสัดส่วนการรับประทานโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 จึงเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง

ไขมันโอเมก้า 3

โอเมก้า 3 มีอยู่ 3 ชนิดคือกรดไขมันแอลฟาไลโนเลอิก (Alpha Linoleic Acid) กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenic Acid) และกรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid)

ใครที่ชื่นชอบการกินปลาแซลม่อน ก็จะได้ประโยชน์จาก Oxygenated Carotenoid ด้วย – https://www.tannersfish.com/product/alaskan-sockeye-salmon/

แหล่งอาหารที่มีไขมันโอเมก้า 3 ได้แก่ปลาแซลม่อน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาดุก เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย น้ำมันคาโนล่า วอลนัท เป็นต้น

ไขมันโอเมก้า 6

ไขมันโอเมก้า 6 มีอยู่ 2 ชนิดคือกรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid) และกรดไขมันอะราคิโดนิก (Arachidonic Acid)

แหล่งอาหารที่มีไขมันโอเมก้า 6 ได้แก่น้ำมันพืชชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน อีฟนิ่งพริมโรส น้ำมันรำข้าว เป็นต้น

ในการรับประทานอาหารนอกบ้าน โอกาสที่ผู้ขายอาหารจะใช้น้ำมันดอกทานตะวันหรือน้ำมันถั่วเหลืองที่มีไขมันโอเมก้า 6 สูงนั้นมีโอกาสสูงมาก เพราะฉะนั้นนเราอาจจะต้องลดการรับประทานอาหารนอกบ้านให้น้อยลง และทำอาหารรับประทานเองโดยใช้น้ำมันหรือวัตถุดิบที่มีไขมันโอเมก้า 3 มากขึ้น

ไขมันเลว

ไขมันเลวเป็นไขมันที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมเพื่อให้สามารถอยู่ได้นานขึ้น ไม่เป็นไข และไม่เหม็นหืน โดยไขมันเลวที่ร้ายตัวหนึ่งก็คือไขมันทรานส์ (Trans fat) ที่มีปฏิกิริยากับร่างกายเยอะมาก

ไขมันทรานส์เกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืช และถึงแม้ในปัจจุบันไขมันทรานส์จะผิดกฎหมายในประเทศไทยแล้ว แต่เรายังสามารถรับประทานอาหารที่มีไขมันทรานส์แฝงมาได้รอบตัวเลยค่ะ


ในครั้งนี้เราก็ได้รู้จักกับไขมันดีและไขมันไม่ดีกับสุขภาพ และสัดส่วนการรับประทานไขมันดีเพื่อไม่ให้เกิดโทษกับร่างกายของเรา แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments