รับประทานอาหารค้างคืนทำให้เป็นมะเร็งหรือไม่ ?
ในช่วงปีพุทธศักราช 2559 ตอนต้นปีมีการแชร์ข่าวว่าคุณแม่ของผู้หญิงในโพสต์นั้นเสียชีวิตจากมะเร็ง โดยเล่าว่าสาเหตุที่คุณแม่เป็นมะเร็งนั้นเกิดจากการนำอาหารค้างคืนมาอุ่นรับประทานเป็นประจำทุกวัน กระทั่งเกิดพิษ และคุณแม่ได้เสียชีวิตลง
เมื่อมีการแชร์ข่าวนี้บนโลกโซเชียล ก็มีการตกใจของผู้คนจำนวนมาก เนื่องจากมีการรับประทานอาหารค้างคืนกันเยอะ

หลังจากนั้นก็มีคำชี้แจงจากอาจารย์เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่าข่าวนี้ไม่น่าจะเป็นความจริง เพราะการนำอาหารค้างคืนใส่ตู้เย็นแล้วนำมาอุ่นรับประทานไม่สามารถทำให้สารไนไตรท์สูงขึ้นในระดับที่ทำให้เกิดอันตราย
ข่าวนี้อาจจะเป็นการสับสนจากกรณีของน้ำบาดาลในบางประเทศที่มีการนำมาต้มดื่มซ้ำแล้วซ้ำอีก ทำให้สารไนเตรตในน้ำบาดาลมีความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งเมื่อดื่มน้ำที่มีไนเตรตความเข้มข้นสูงก็จะเกิดอันตรายกับผู้ดื่ม
เทคนิคการเก็บอาหารก่อนเข้าตู้เย็น
เคล็ดลัพธ์ง่าย ๆ ที่คุณผู้รักสุขภาพอาจจะแปลกใจได้กับขั้นตอนง่าย ๆ นี้ แต่สามารถเก็บอาหารให้มีอายุยาวนานมากขึ้นโดยไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย โดยเราจะใช้หลักง่าย ๆ ไม่กี่ข้อคือ
หลัก 2 ชั่วโมง
เมื่อเราซื้ออาหารมาไม่ว่าจะเป็น ผัก ปลา หรืออาหารสำเร็จรูป โดยเวลา 2 ชั่วโมงนี้จะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่อาหารจะอยู่นอกตู้เย็นในอุณหภูมิห้องปกติ ซึ่งหากอาหารหรือวัตถุดิบอื่น ๆ อยู่นอกตู้เย็นเกิน 2 ชั่วโมง ก็จะมีโอกาสเสียมากขึ้น
ตู้เย็นควรมีอุณหภูมิต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิที่ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส จะสามารถชะลอการเติมโตของแบคทีเรีย ช่วยให้อาหารที่เราแช่ไว้เสียยากขึ้น
ตู้เย็นต้องสะอาด
ตู้เย็นเป็นแหล่งเก็บอาหารทั้งสุกทั้งดิบมากมาย ซึ่งก็จะมีเชื้อโรคและแบคทีเรียค่อย ๆ ก่อตัวขึ้นภายในนั้น ฉะนั้นเราจำเป็นต้องทำความสะอาดตู้เย็นบ้างเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านั้นออกไป โดยหากเราไม่ทำความสะอาดตู้เย็นเลย เชื้อโรคในตู้เย็นก็จะทำให้อาหารของเราเสียง่ายขึ้น
วางอาหารสุกไว้เหนืออาหารดิบ
การวางอาหารลักษณะนี้จะป้องกันเมื่อมีการละลายหรือมีของเหลวที่ออกมาจากของดิบตกลงสู่ของสุก
ปิดภาชนะให้สนิทและไม่นำอาหารที่ร้อนอยู่เข้าตู้เย็นทันที
นอกจากเรื่องการการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าแล้ว การนำอาหารร้อนเข้าตู้เย็น จะทำให้อุณภูมิของอาหารเปลี่ยนแปลงเร็วเกินไป
ระยะเวลาของอาหารแต่ละชนิดในตู้เย็น
อาหารแต่ละประเภทจะมีระยะเวลาอยู่ในตู้เย็นต่างกันออกไป ซึ่งเราอาจจะต้องทราบช่วงอายุของอาหารเหล่านั้น เพราะเราจะได้ไม่เก็บของเสียไว้ในตู้เย็นเพื่อให้อาหารอื่น ๆ ไม่เน่าเสียก่อนเวลาอันสมควร
ปลาและอาหารทะเลจะเก็บไว้ได้นาน 12 ชั่วโมง ในตู่เย็นช่องเก็บปกติ แต่หากเก็บไว้ในช่องแช่แข็งจะสามารถเก็บไว้ได้นาน 2 – 3 เดือนสำหรับอาหารทะเล ส่วนปลาจะสามารถเก็บไว้ได้ถึงประมาณ 4 เดือน
หากเป็นเนื้อบดหรือเนื้อสัตว์ควรเก็บไว้ 1 วัน แต่หากเราเก็บไว้ในช่องแช่แข็งก็จะสามารถเก็บไว้ได้นาน 3 – 6 เดือน
ผักใบเขียวสามารถเก็บไว้ได้นาน 3 – 4 วัน และผลไม้สุกสามารถเก็บไว้ได้ 1 – 2 วัน
นมสดสามารถเก็บไว้ได้ 4 – 5 วันในช่องเก็บอาหารทั่วไป และเนยเเข็งสามารถอยู่ได้ 3 – 7 วัน ส่วนซอฟท์ครีมหากเราเก็บไว้ในช่องฟรีซก็จะสามารถเก็บได้นาน 3 – 4 เดือน

อาหารที่บรรจุในถุงสูญญากาศสามารถเก็บไว้ได้ 1 – 2 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นอาหารปรุงสำเร้๗แบบกึ่งสำเร็จรูปก็จะสามารถอยู่ได้ 4 เดือนถึงครึ่งปีเลยค่ะ
ในช่องเก็บอาหารธรรมดาก็จะสามารถเก็บอาหารได้แค่หลักวันเท่านั้น แต่หากเราเก็บอาหารเลห่านี้ไว้ในช่องแช่แข็ง ก็จะสามารถเก็บอาหารเหล่านั้นไว้ได้นานขึ้น
สิ่งสำคัญของการทำอาหารนอกจากการเลือกซื้อวัตถุที่มีคุณมามาใช้สำหรับประกอบอาหารแล้ว วิธีการเก็บรักษาวัตถุดิบก่อนนำมาปรุงอาหารก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กันเลยค่ะ และสำหรับอายุของวัตถุดิบต่าง ๆ ที่เราสามารถเก้บไว้ใช้งานได้ ก็อย่าเผลอซื้อมาตุนไว้เยอะจนเกินไปนะคะ เพื่อให้เราได้รับประทานอาหารจากวัตถุดิบที่สดใหม่อยู่เสมอ แล้วแวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ