ตรวจสอบสุขภาพดวงตาด้วย MPS
หลายคนใช้งานดวงตาหนักมากแต่มีการดูแลดวงตาเพียงนิดเดียว และวันนี้นกได้รับเกียรติจากท่านดอกเตอร์เภสัชกรกานต์ วงศ์ศุภสวัสดิ์ มาให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพดวงตาให้กับนกและคุณผู้รักสุขภาพทุกท่านในบทความนี้ค่ะ

เรื่องของสุขภาพดวงตาเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ๆ ซึ่งเครื่องมือวัดเม็ดสีรงควัตถุจอประสาทตา หรือ Macular Pigment Density (MPS) สามารถช่วยดูแลสุขภาพตาของคุณผู้รักสุขภาพได้ ซึ่งเม็ดสีบนจอประสาทตามีความสำคัญในการกรองแสงสีน้ำเงินรวมถึงรังสี UV หากมีการกรองที่ดี พื้นที่รับภาพบนจอประสาทตาก็ปลอดภัย แต่หากเม็ดสีมีความบกพร่องก็มีแนวโน้มที่จะทำให้ส่วนรับภาพบนจอประสาทตาเสียหายได้

โดยธรรมชาติแล้วเราจะมีการเสริมสร้างเม็ดสีเหล่านี้จากอาหาร อย่างเช่นในตอนเด็กเราจะได้รับการสอนว่าให้รับประทานผักบุ้งเพราะมีวิตามิน A เพื่อบำรุงสายตา และมีฟักทอง โดยอาหารที่หาได้ง่าย ๆ เหล่านี้เองที่สามารถช่วยปกป้องจอประสาทตา
ภาพผัดผักบุ้งโดยคุณวรรณกร เกตุวิไล – https://pixabay.com/photos/3381058/ ฟักทองยักษ์โดย Nietjuh – https://pixabay.com/photos/4528653/
และในปัจจุบันที่ความรู้ทางการแพทย์ของโลกเรามีมากขึ้นและพบว่าสารที่บำรุงตาไม่ได้มีแค่วิตามิน A ซึ่งก็มีสารสำคัญอย่างเช่นลูทีน (Lutein) รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระอื่น ๆ อีกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ไซยานิดิน (Cyanidin) หรือสารสะกัดจากเมล็ดองุ่นอย่าง OPC ก็มีความสามารถในการปกป้องจอประสาทตาให้กับเรา

การทำงานของเครื่อง MPS II
เครื่อง MPS จะวัดการตอบสนองต่อรังสี ฉะนั้นเราสามารถใส่แว่นในขณะที่ตรวจได้เลยนะคะ ซึ่งหาในชีวิตปกติของเราต้องใส่แว่นตลอดเวลาเราก็สามารถตรวจด้วยเครื่อง MPS II นี้ขณะที่ยังใส่แว่นได้เลยค่ะ
เมื่อเราเริ่มทำการตรวจดวงตาด้วยเครื่อง MPS II นี้ก็ให้เราแนบดวงตาเข้ากับเครื่อง และจะเห็นจุดบริเวณตรงกลาง และเมื่อเครื่องเริ่มทำงานจุดที่เรามองเห็นก็จะเกิดการกระพริบ ทุกครั้งที่เราเห็นจุดนั้นกระพริบก็กดปุ่มด้านข้าง เพื่อบันทึกความสามารถในการตอบสนองของเราและแปลค่าการตอบสนองออกมาเป็นตัวเลข
ข้อสังเกตเมื่อสุขภาพตาเริ่มมีปัญหา
วิธีสังเกตง่าย ๆ ว่าสุขภาพดวงตาของเรานั้นยังดีอยู่หรือไม่ ก็คือให้สังเกตเมื่อเราใช้ดวงตาซึ่งเมื่อเรารู้สึกว่าเมื่อยตาหรืออ่อนล้าเร็วและบ่อยมากกว่าที่ควรจะเป็น รวมถึงการมีอาการตาพล่ามัวโดยเฉพาะเมื่อมองภาพแล้วพบว่าตรงกลางภาพไม่ค่อยชัด ซึ่งหากมีอาการนี้ให้รีบพบแพทย์ทันทีค่ะ
การดูแลดวงตาที่ใครก็ทำได้
สายตานั้นก็เหมือนส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ต้องมีการพักผ่อนเมื่อใช้งานเป็นเวลานานก็ต้องมีการพักสายตา โดยเฉพาะเมื่อเรามีสมาธิกับการทำงงานมาก ๆ เรามักจะลืมพักสายตา

เมื่อทำงานติดต่อกันเวลานานก็ให้เราพักสายตาบ้าง มองที่ใกล ๆ หรือหาพื้นที่สีเขียวในการพักสายตาเป็นตัวเลือกที่ช่วยยิดอายุของจอประสาทตาให้อยู่กับเรานานขึ้นได้นะคะ นอกจากนี้เรายังต้องรักษาความสะอาดของดวงตาและต้องมีการพักผ่อนให้เพียงพอด้วยค่ะ
แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ