ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความรัก

ก็มีความเชื่อมากมายที่เกี่ยวกับจุดกำเนิดของความรัก ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเกิดความรักก็จะมีการทำงานของฮอร์โมนมากมายโดยเฉพาะฮอร์โมนที่เรากำลังจะทำความรู้จักกันในครั้งนี้

อะดรีนาลีน (Adrenaline)

อะดรีนาลีนจะเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น เลือดสูบฉีด ใจเต้นแรง และหน้าแดงทุกที

เทสโทสเตอร์โรนและเอสโตรเจน

ทั้งสองฮอร์โมนนี้จะทำให้ความรู้สึกของเราพุงพร่าน ทำให้เรารู้สึกอยากมีความสัมพันธ์ อยากจะใกล้ชิด อยากจะสัมผัส

ซีโรโทนิน

ในหลาย ๆ ครั้งที่เรารู้สึกคิดถึง รู้เหงา ก็จะมีฮอร์โมนที่ชื่อว่าซีโรโทนินนี่เองค่ะที่เป็นตัวสั่งการ

ออกซิโทซิน

ฮอร์โมนที่เป็นพระเอกในเรื่องของความรักก็คือฮอร์โมนออกซิโทซิน เนื่องจากฮอร์โมนนี้ทำให้เกิดความผูกพัน ความอบากแต่งงาน ความต้องการสร้างครอบครัว เป็นความรักในระยะยาว

หากคู่แต่งงานบางคู่ที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันมานาน แล้วคุณผู้หญิงเกิดอาการเหม็นหน้าสามีถึงขั้นรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ ทำให้หลาย ๆ ครั้งที่คุณหมอที่ทำหน้าที่ดูแลชีวิตคู่ ก็จะทำการปรับฮอร์โมนออกซิโทซิน เนื่องจากเชื่อว่าหากผู้หญิงมีระดับออกซิโทซินเพิ่มขึ้นก็จะมีความรู้สึกรังเกียจคู่ชีวิตน้อยลง


การเพิ่มระดับออกซิโทซินก็มีหลากหลายวิธีนะคะ อย่างการฉีดเข้าร่างกายก็เป็นวิธีหนึ่งในการเพิ่มออกซิโทซินในร่างกาย ส่วนวิธีที่ง่ายที่สุดในการเพิ่มระดับออกซิโทซินก็เพียแค่ยิ้มให้กันเท่านั้นเองค่ะ และการพูดจาที่อ่อนหวาน การกอด การสัมผัส ก็สามารถเพิ่มความรู้สึกผูหพันธ์และเพิ่มระดับออกซิโทซินขึ้น

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments