พะแนงขลุกขลิกเต้าหู้
ทั้งเต้าหู้และเครื่องแกงพะแนงรวมถึงเครื่องเคียงต่าง ๆ และสับปะรดรดที่เราเลือกใส่ลงไปเพิ่มล้วยแล้วแต่มีความสามารถในการต้านการอักเสบที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเราค่ะ
วัตถุกิบในการทำเมนูพะแนงขลุกขลิกเต้าหู้
ส่วนผสมนี้สำหรับการทำรับประทานประมาณ 2 คนนะคะ
เต้าหู้แข็งสีขาวหั่นสี่เหลี่ยมประมาณ 1 นิ้ว | 1/2 แผ่น |
สับปะรดหั่นชิ้นพอคำ | 100 กรัม |
น้ำพริกแกงพะแนง | ½ ถ้วย |
น้ำเต้าหู้ | ½ ถ้วย |
น้ำปลา | 1 ช้อนโต๊ะ |
น้ำตาลปี๊บ | 1 ช้อนโต๊ะ |
มะเขือพวง | ½ ถ้วย |
ใบมะกรูดฉีก | 3-4 ใบ |
ใบโหระพา | 1 ถ้วย |
กะทิ | ½ ถ้วย |
พริกชี้ฟ้าเขียวและแดงหั่นเฉียง | 2 เม็ด |
ขั้นตอนการทำพะแนงขลุกขลิกเต้าหู้
การทำพแนงเต้าหู้เราสามารถเลือกทำได้หลายแบบนะคะ จะผัดเต้าหู้รวมลงไปในพะแนงได้โดยตรงเลยหรือจะแยกแต้าหู้ออกจากพะแนงก็ให้รสชาติการกินที่ต่างกันออกไปค่ะ โดยหากเราเลือกวิธีแยกเต้าหู้ออกก็ให้เราย่างเต้าหู้บนกระทะให้สุกก่อนนะคะ
- ผัดน้ำพริกแกงพะแนงกับน้ำเต้าหู้และกะทิจนมีกลิ่นหอม โดยปกติเราจะใช้น้ำมันในการผัดพริกแกงนะคะ แต่น้ำมันเป็นสาเหตุของโรคหลายอย่างในระยะยาว ฉะนั้นสูตรต้านอักเสบนี้เราจะเลือกผัดในน้ำแทนค่ะ
- ปรุงรสด้วยน้ำปลาและน้ำตาลปี๊บเล็กน้อยเท่านั้นค่ะ และใส่สับปะรดลง ซึ่งในขั้นตอนนี้หากเราจะผัดเต้าหู้รวมกันก็ได้เลยในขั้นตอนนี้
- ใส่ใบมะกรูด มะเขือพวง ใบโหระพา และพริกชี้ฟ้าลงไป คนให้เข้ากันก็เป็นอันเรียบร้อยกับพะแนงเต้าหู้สูตรต้านอักเสบ
การจัดจานอาหารเพื่อประสิทธิภาพในการต้านอักเสบ
การจัดจานสำหรับการรับประทานอาหารเพื่อการต้านอักเสบอย่างง่าย ๆ สำหรับทุกเมนูที่รับประทานคู่กับข้าว ก็เพียงเราแบ่งจานข้าวออกเป็น 4 ส่วน โดยส่วนที่ 1 ให้เป็นกับข้าว ส่วนที่ 2 เป็นข้าวที่ไม่ผ่านการขัดสี และ 2 ส่วนที่เหลือเป็นผักหรือผลไม้

การเสริมภูมิคุ้มกันและต้านอักเสบสำหรับนกในวันนี้นอกจากมีเมนู “พะแนงขลุกขลิกเต้าหู้” ในมื้อเที่ยงแล้วยังมีผัดเผ็ดปลาดุกสำหรับการต้านอักเสบและเสริมภูมิคุ้มกันในมื้อเช้า ส่วนมื้อเย็นเป็นยำส้มโอทำหน้าที่ต้านอักเสบและเสริมภูมิคุ้มกันให้กับนกในตอนเย็น