ไขข้อข้องใจผู้สูงวัยกับโรคซึมเศร้า
ในบทความนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องของคนที่พ้นวัยเกษียนไปแล้วหรือผู้สูงอายุนั้นที่หลาย ๆ คนชอบเห็นอาการซึมเศร้าเกิดขึ้นกับบุคคลเหล่านั้นเป็นเรื่องปกติจริงหรือไม่
ดูเหมือนจะกลายเป็นเรื่องปกติของหลายบ้านที่มักมองว่าอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นเป็นเรื่องปกติ ซึ่งคุณหมออโณทัย สุ่นสวัสดิ์ จิตแพทย์ประจำศูนย์จิตรักษ์ โรงพยาบาลกรุงเทพ แนะนำว่าเป็นเรื่องที่เหล่าลูกหลานต้องระวังให้มากเลยนะคะ เพราะว่าเรื่องราวเหล่านี้มีทั้งความจริงและความไม่จริงอยู่ เพราะงานวิจัยที่ออกมาเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าพบว่าจะมีโรคซึมเศร้าเกิดกับคนทั่วไปอยู่ที่ประมาณ 20% ของประชากรทั้งหมด แต่เมื่อเราจำกัดกลุ่มประชากรเฉพาะผู้สูงอายุจะพบว่าผู้ที่มีอาการของโรคซึมเศร้าไม่ถึง 5% เลย

ตัวเลข 5% จากงานวิจัยนี้เราสามารถอนุมานได้ว่าผู้ที่มีอายุมากขึ้นจะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคซึมเศร้าน้อยลง หรือผู้สูงอายุจะมาความสามาถในการอยู่กับความเครียดได้แล้วยังมีสุขภาพจิตที่ดี แต่อย่างไรก็ตามเราจะต้องทำความเข้าใจว่าอาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะไม่เหมือนอาการโรคซึมเศร้าในผู้อายุน้อย
หากจะให้เข้าใจง่ายขึ้นก็อาจจะเทียบกับอาการเศร้าทั่วไป ในคนอายุน้อยก็อาจจะแสดงออกด้วยการร้องไห้หรือน้อยใจ แต่ในกรณีของคนที่มีอายุมากขึ้นจะแสดงออกด้วยอาการเจ็บป่วยทางกาย ซึ่งในกรณีอาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุก็เช่นกันที่จะมีการแสดงออกด้วยการเจ็บปวดทางร่างกาย อย่างเช่นมีอาการเจ็บปวดทั้งตัว ไม่สบายตัว กระทั่งพบแพทย์แล้วก็ยังหาข้อสรุปไม่ได้ว่าสาเหตุของอาการเหล่านั้นมาจากอะไร โดยหากมีอาการลักษณะนี้มีโอกาสเป็นไปได้ว่าผู้สูงอายุนั้นมีโอกาสอยู่ในภาวะโรคซึมเศร้า
เราอาจจะไม่สามารถใช้มาตรฐานการวัดโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุเหมือนกับผู้ที่ยังอายุน้อย แต่ใจความสำคัญของเรื่องราวในครั้งนี้คุณหมออยากฝากถึงทุกคนว่าโรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกคน และผู้สูงอายุทุกคนสามารถมีชีวิตที่มีความสุขได้
โรคซึมเศร้าไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกคน
เคล็ดลัพธ์ในการใช้ชีวิตอย่างสดใสในผู้สูงอายุ
เรามาลองทำความรู้จักกับเคล็ดลัพธ์ในการทำให้ผู้สูงอายุมีชีวิตที่แจ่มใส หรือเราอาจจะนำไปใช้ให้เต็มที่กับชีวิตในช่วงวัยหลังเกษียนของเราได้ค่ะ
ความเครียด
โดยธรรมชาติแล้วการรับรู้ความเครียดในคนที่อายุมากขึ้นจะแตกต่างจากคนอายุน้อย เนื่องจากมุมมองของคนอายุน้อยและผู้สูงอายุมีความแตกต่างกัน คนที่อายุมากส่วนใหญ่จะมีประสบการณ์เกี่ยวกับความเครียดหลาย ๆ อย่างมาแล้วทั้งผ่านมาด้วยตัวเองหรือผ่านมาจากเรื่องราวของคนรอบตัว ส่งผลให้เมื่อมีความเครียดเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุจะมีการแสดงออกด้วยความนิ่งเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเมื่อมีความเครียดในระดับที่สูงขึ้นนั้นก็มีข้อแนะนำว่าไม่ควรอยู่คนเดียว พยายามที่จะอยู่ร่วมกันหลายคน โดยการร่วมกันแก้ปัญหาร่วมกันหลายคนจะมีโอกาสในการแก้ปัญหาสำเร็จสูงกว่าการแก้ปัญหาคนเดียว แต่ถึงแม้ปัญหาจะไม่สามารถแก้ไขได้ปัญหาที่กระจายสู่กลุ่มคนรู้จักหลายคนให้ความรู้สึกในภาระของปัญหาน้อยลง
หลังจากเราทำความรู้สึกกับโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุแล้วเมื่อเกิดอาการที่เข้าข่ายการซึมเศร้าในผู้สูงอายุก็อย่างได้นิ่งนอนใจคิดว่าเป็นเรื่องปกติกันนะคะ