เทคนิคพิชิตอัลไซเมอร์
โรคอัลไซม์เมอร์คงเป็นโรคที่หลายคนไม่อยากให้เกิดกับคนที่เรารัก ซึ่งอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์สมองที่ไม่ใช่ความเสื่อมตามธรรมชาติ
อัลไซเมอร์เป็นโรคที่น่าเป็นห่วงเพราะอัลไซเมอร์ไม่ได้ส่งผลกับแค่ความจำของคนเท่านั้น แต่ยังมีผลกับเรื่องของบุคลิกภาพและตัวตนของคน ๆ นั้นด้วย
ในมุมมองของจิตแพทย์จะแบ่งโรคอัลไซเมอร์ออกเป็น 2 กลุ่มอาการ โดยกลุ่มแรกจะเป็นกลุ่มที่อัลไซเมอร์ส่งผลต่อความจำที่เราเห็นกันบ่อยในอาการความจำหายไป ส่วนกลุ่มที่สองจะเป็นปัญหาทางด้านพฤติกรรม ซึ่งกลุ่มนี้จะเกิดภายหลังจากที่เกิดปัญหาทางด้านความทรงจำไปแล้วสักพัก ซึ่งปัญหาด้านตัวตนจะเกิดขึ้นมาอย่างเช่น “ฉันคือใคร” หรือพฤติกรรมที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้อย่างการโมโห หงุดหงิด ซึ่งปัญหานี้จะส่งผลกระทบกับบุคคลรอบตัวของผู้ที่มีพฤติกรรมตัวตนเปลี่ยนไป บางรายอาจจะมีปัญหาถึงขั้นการมองว่านี่ไม่ใช่บุคคลที่เราเคยรู้จัก กระทบกับความสัมพันธ์ของคนทั้งบ้าน
สาเหตุของการเกิดอัลไซเมอร์
1 ใน 3 ของปัญหาอัลไซเมอร์เป็นเรื่องของงพันธุกรรม เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในครอบครัว ถ้าในครอบครัวของเรามีคนที่เป็นอัลไซเมอร์ ลูกหลานก็จะมีความเสี่ยงในการเป็นอัลไซเมอร์มากกว่ากลุ่มครอบครัวที่ไม่มีคนเป็นอัลไซเมอร์
การป้องกันอัลไซเมอร์
2 ใน 3 ของการเกิดอัลไซเมอร์เป็นสิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ เช่น การฝึกใช้สมอง การออกกำลังกาย การมีโรคประจำตัวน้อย การมีหัวใจแข็งแรง การมีสมองที่แข็งแรง และการกินอาหารที่ถูกต้อง ซึ่งเราสามารถปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อไม่ให้เราเกิดอัลไซเมอร์ได้
การลดความเครียด (Stress Reduction)
ทุกคนน่าจะมีควมเห็นตรงกันว่าความเครียดเป็นสิ่งเราไม่ต้องการ โดยเฉพาะความเครียดที่มีความต่อเนื่องยาวนานให้เราพยายามหาทางหยุดความเครียดนั้นให้เร็วที่สุดนะคะ
แต่ความเครียดก็มีประโยชน์นะคะหากเราใช้ความเครียดบางประเภทให้เกิดประโยชน์ อย่างเช่น ความเครียดบางอย่างจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายที่เราตั้งไว้ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นความเครียดแบบไหน หากอยู่กับเรานานเกินไปก็ไม่ดีกับตัวเราและยังมีความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้น
การออกกำลังกาย
ในกลุ่มประชากรที่มีอายุมากขึ้น การออกกำลังกายเป็นประจำอาจจะยากและร่างกายรับไม่ไหว จึงมีงานวิจัยแนะนำให้เราออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์
อาหาร
คำพูดที่ว่า “You are what you eat” เมื่อเรารับประทานอะไรเข้าไปเราก็จะได้ในสิ่งนั้นและส่งผลกับสุขภาพของเรา และก็มีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับอาหารที่ลดการเสื่อมของสมองอย่างการรับประทานแพลนต์เบสที่เน้นการรับประทานพืชผักจำนวนมาก
การใช่ชีวิต
การใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีสีสัน ไม่จมอยู่กับความกลัว ก็จะเป็นสิ่งที่ลดความเสื่อมของสมองได้เช่นกัน
การมีสังคม
มีงานวิจัยออกมารองรับมากมายว่าผู้สูงอายุที่มีการเข้าสังคมมีการเสื่อมของสมองช้ากว่ากลุ่มผู้สูงอายุที่แยกตัวออกจากสังคมอยู่บ้านเฉย ๆ ฉะนั้นหากใครมีเพื่อนอยู่แล้วก็มีช่วงเวลาไปพบกับเพื่อนอยู่บ่อย ๆ นะคะเพื่อสุขภาพสมองที่ดี
เพื่อป้องกันหรือลดความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์เราจะต้องมีใจที่ร่าเริง ใช้ความเครียดที่เกิดขึ้นให้เป็นประโยชน์ ออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน รับประทานอาหารเน้นพืช งดไขไมันทรานส์ งดเนื้อสัตว์สีแดง เข้าสังคมอยู่บ่อย ๆ เพียงห้ากิจกรรมหลักนี้ก็จะสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดอัลไซเมอร์ให้กับเราได้เยอะมาก ๆ เลยนะคะ