กินให้ดี กินให้ถูก กระดูกจะแข็งแรง
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโครงสร้างสำคัญของร่างกายอย่างกระดูกของเราที่การกินมีส่วนสำคัญมากที่จะเสริมความแข็งแรงให้กับโครงสรา้งหลักของร่างกายนี้ โดยอาจารย์เอกราช บรุงพืชน์ อาจารย์ประจำภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะมาให้ความรู้กับเราในครั้งนี้
ด้วยวิถีการกินในปัจจุบันทำให้คนไทยของเรามีปัญหาเรื่องความแข็งแรงของกระดูก กระดูกบาง กระดูกพรุนเยอะมาก โดยที่ไม่รู้ตัวด้วย เพราะเราไม่ค่อยตระหนักกันโดยเฉพาะวัยทองที่ความสามารถในการดูดซึมแคลเซียมน้อยลง เสี่ยงต่อการเป็นกระดูกพรุน
วัยทองการดูดซึมแคลเซียมจะน้อยลง
ข้อมูลการสำรวจในประเทศไทยพบว่าเราบริโภคแคลเซียมวันละ 200 มิลลิกรัมต่อวัน (คนกรุงเทพเฉลี่ย 400 มิลลิกรัมต่อวัน) โดยปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวันอยู่ที่ 800 – 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน

ด้วยปริมาณการบริโภคแคลเซียมในระดับต่ำลักษณะนี้ทำให้คนไทยเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน หรือโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับกระดูก โดยวัตถุดิบและอาหารที่มีแคลเซียมและร่างกายสามารถดูดซึมใช้งานได้ดีเช่น ปลาเล็กปลาน้อย ผักใบเขียว นม โยเกิร์ต และนมถั่วเหลืองเสริมแคลเซียม
https://pixabay.com/photos/1239155/ Yogurt – https://pixabay.com/photos/1925178/ White Cow – https://pixabay.com/photos/1587258/ https://pixabay.com/photos/4597751/
นอกจากเรื่องของอาหารที่อาจารย์เอกราชแนะนำมาเรายังต้องออกกำลังกายประเภทต้านแรงโน้มถ่วงก็จะช่วยในการเสริมมวลกระดูกได้มากเลยค่ะ และสำหรับการเสริมแคลเซียมต้องรับประทานคู่กับวิตามินดีด้วยนะคะ เพราะวิตามินดีจะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากเรารับประทานแค่แคลเซียมจะทำให้แคลเซียมเกาะที่ผนังหลอดเลือด ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยปริมาณที่คุณหมอแนะนำคือประมาณ 600 มิลลิกรัมต่อวันให้พอดีกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวันเท่านั้นนะคะ