ดินประสิวกินได้หรือไม่ ทำไมไส้กรอกมีดินประสิว

สารที่ชื่อว่าไนเตรท ไนไตรท์ หรือดินประสิวเป็นสารที่คนหลงรักการรับประทานไส้กรอกเป็นชีวิตจิตใจต้องทำความรู้จักกันเลยค่ะ ซึ่งหลายคนก็จะคุ้นเคยกันว่าดินประสิวเป็นส่วนผสมของประทัด ดินปืน และดอกไม้ไฟ โดยดินประสิวมีชื่อทางเคมีว่า “โพแทสเซียมไนเตรท”

ไนเตรทหรือไนไตรท์เป็นอนุพันธ์ของเกลือ ซึ่งกระทรวงสาธารณะสุขบอกเอาไว้ว่าเราสามารถรับประทานดินประสิวได้ มีฤทธิ์ในการถนอมอาหาร ป้องกันการบูด การเน่า การเสีย

อาหารที่มักมีการใช้โซเดียมไนเตรทเพื่อการถอมอาหาร เช่นอาหารที่ทำจากเนื้อสัตว์อย่างเนื้อเค็ม แหนม หมูยอ กุลเชียง ปลาร้า ไส้กรอก แฮม เนื้อสด เนื้อเปื่อย เนื้อตุ๋น ปลาแห้ง

แต่ถึงจะบอกว่ารับประทานได้ แต่ก็ไม่สามารถรับประทานในปริมาณสูงได้นะคะ โดยประกาศกระทรวงสาธารณะสุขฉบับที่ 281 ปีพุทธศักราช 2547 อนุญาติให้ใช้โซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์ได้ในอาหารในปริมาณที่จำกัดคือ โซเดียมไนเตรทให้มีในอาหารได้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนโซเดียมไนไตรท์ให้มีได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

กรณีที่ใช้ทั้งโซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์ให้มีได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

อันตรายจากการรับประทานดินประสิว

ถึงแม้ว่าจะมีข้อบ่งชี้ในการใช้ แต่นกก็ไม่แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีทั้งโซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์เป็นส่วนประกอบ เพราะหากเรารับประทานในปริมาณสูงมาก โดยเฉพาะกับผู้ที่มีความไวกับสารนี้อย่างเด็กเล็ก เมื่อไนไตรท์เข้าสู่กระแสเลือดและจับตัวกับฮีโมโกลบินก็จะกลายเป็น Methaemoglobin ทำให้เม็ดเลือดไม่สามารถจับตัวกับออกซิเจนได้ และจะส่งผลให้เกิดอาการตัวเขียว เล็บเขียว หัวใจเต้นแรง หอบ เหนื่อย และอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

ในบางกรณีจะมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง โดยทั้งหมดนี้เกิดจากการที่ร่างกายขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน

ข้อแนะนำเมื่อต้องรับประทานอาหารที่มีดินประสิวเป็นส่วนประกอบ

เห็นความน่ากลัวของดินประสิวกนแล้วแต่หากยังหักห้ามใจในการรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของดินประสิวไม่ได้ก็จะมีข้อแนะนำดังนี้นะคะ เพื่อไม่ให้เราได้รับโซเดียมไนเตรทและโซเดียมไนไตรท์สะสมในร่างกายของเรามากเกินไป

หากเราชอบรับประทานไส้กรอกไก่ ก็ต้องเลือกที่ไม่เหลืองหรือแดงมากเกินไป หากเป็นไส้กรอกหมูก็ต้องเลือกแบบไม่แดง และที่สำคัญต้องหากเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีวันหมดอายุบอกก็ต้องดูให้ดีนะคะ และดูสัญลักษน์ อย. จากองค์การอาหารและยาของประเทศไทยเผื่อด้วย

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments