กินอาหารและยาอย่างไรไม่ให้ตีกัน

เรื่อองของการกินอาหารและยาไม่ให้มีผลซ้ำซ้อนหรือขัดกันเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากค่ะ เพราะหลายคนต้องรับประทานยาเป็นประจำ และมีหลายคนที่ไม่รู้กระทั่งเกิดการจับคู่ยาและอาหารผิด ทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ดีเท่าที่ควร

ครั้งนี้เราได้รับเกียรตืจาก ผศ.ดร. เอกราช บำรุงพืชน์ อาจารย์ประจำภาควิชาโภชณวิทยา คณะสาธารณะสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อมาไขข้อข้องใจเรื่องของการกินอาหารและยาบางชนิดที่ไม่ควรรับประทานร่วมกันค่ะ

อาหารบางชนิดมีผลในการขัดขวางการดูดซึมของยาก็จะทำให้ประสิทธิภาพของยาในการรักษาทำได้ไม่เต็มที่

กลุ่มยาลดความดันโลหิต

โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ซึ่งมีกันเยอะมากในปัจจุบัน โดยจะมียาที่เกี่ยวกับโรตเหล่านี้อยู่ 2 กลุ่มที่ต้องระวัง คือ ไตรแอมเตอรีน (Triamterene) และแคปโตพริล (Captopril)

เพราะมีผลทำให้โพแทสเซียมในเลือดเพิ่มขึ้นสูงเพื่อให้ความดันลดลง แต่หากผู้ที่รับประทานยาสองกลุ่มนี้อยู่แล้วและรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงขึ้นไปอีก เช่นกล้วยหรือส้ม ไม่ว่าจะรับประทานพร้อมกับยาหรือหลังจากรับประทานยาเข้าไปแล้ว จะทำให้ระดับโพแทสเซียมในโลกสูงเกิน ส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและอาจจะเกิดอันตรายได้

กลุ่มยาลดไขมันในเลือดสูง

ในยากลุ่มลดไขมันในเลือดสูงสำหรับผู้ที่ต้องใช้ยากลุ่มนี้ก็จะคุ้นเคยกับ สแตติน (statin) ที่ทำหน้าที่ลดไขมัน LDL Cholesterol หรือไขมันไม่มี โดยการรับประทานยากลุ่มนี้ต้องใช้ยาให้ห่างจากมื้ออาหารประเภทผลไม้กลุ่มเกรฟฟรุต กลุ่มผลไม้ตระกูลส้ม หรือแม้กระทั่งน้ำผักผลไม้รวม

Hanoi Vietnam Old Town Colorful – https://pixabay.com/photos/4176310/

ผลไม้กลุ่มเกรฟฟรุต ผลไม้ตระกูลส้ม จะทำให้ยาดูซึมได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ผลข้างเคียงในการใช้ยาเพิ่มขึ้น มีผลในการทำลายตับเพิ่มมากขึ้น และยังมีผลทำให้กล้ามเนื้ออักเสบเพิ่มมากขึ้นไปอีก

กลุ่มยาต้านการแข็งตัวของเลือด

ยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือดอน่างเช่น วาฟาริน (Wafarin) ยาตัวนี้จะยับยั้งการแข็งตัวของเลือด หรือยับยั้งการทำงานของวิตามินเค ทำให้เมื่อเรารับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูง ทำให้ยาไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เลยหรือไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่

อาหารอีกกลุ่มที่น่าเป็นห่วงเมื่อเรารับประทานกลุ่มยาที่ทำหน้าที่ต้านการแข็งตัวของเลือดคือกลุ่มอาหารที่มีวิตามินอีสูง เนื่องจากวิตามินอีจะทำหน้าที่สลายลิ่มเลือด

กลุ่มยาปฏิชีวนะ

กลุ่มยาปฏิชีวินะที่ชื่อว่า “ซิโพรฟอกซาซิน” (Ciproflocine) จะมีปฏิกิริยากับอาหารที่มีแคลเซียม โดยแคลเซียมจะทำให้การออกฤทธิ์ของยาลดน้อยลง

เมื่อแพทย์จ่ายยาซิโพรฟอกซาซิน แล้วก็ไม่ควรรับประทานร่วมกับนม โยเกิร์ต หรืออื่น ๆ ที่เป็นแหล่งของแคลเซียม รวมถึงน้ำแร่ด้วยนะคะ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะขัดขวางการออกฤทธิ์ของซิโพรฟอกซาซิน โดยเมื่อแพทย์พบว่ายาที่ให้ไปไม่ออกฤทธิ์อาจจะทำให้แพทย์ปรับเพิ่มขนาดยาและเป็นอันตรายกับเรามากขึ้นค่ะ


หากเราต้องใช้ยาในกลุ่มยาลดความดัน ยาลดไขมัน ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือกลุ่มยาซิโพรฟอกซาซิน เรื่องความสัมพันธ์ของอาหารที่เรารับประทานและยามีความสำคัญมากนะคะ เพราะนอกจากจะส่งผลถึงการออกฤทธิ์ของยาที่ผิดเพี้ยนไปแล้วนั้น ยังส่งผลเสียกับร่างกายและอวัยวะภายในของเราอย่างมากเลยค่ะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments