โพรไบโอติคส์ (Probiotics) คืออะไร ?

การมีสุขภาพลำไส้ที่ดี ก็จะเป็นพื้นฐานของการมีสุขภาพที่ดี ทบทวนจากตอนที่แล้วนิดนึงถึงแนวทางการรักษาภาวะลำไส้รั่วซึมด้วย 4R ดังนี้นะคะ

  • Remove: คือ การหลีกเลี่ยงหรือกำจัดต้นเหตุที่ทำลายลำไส้ เป็นสิ่งแรกที่ควรปฏิบัติ กำจัดทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้เกิดภาวะลำไส้รั่ว เช่น แอลกอฮอล์ กลูเตน(สำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนข้าวสาลี) ยาปฏิชีวนะ ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAID) และอาหารที่แพ้ ซึ่งเราจะทราบได้จากการไปตรวจเลือด เพื่อจะได้ทราบว่าอาหารชนิดใดบ้างที่รับประทานได้ ชนิดใดบ้างที่ควรงดและหลีกเลี่ยง
  • Replace: แทนที่ด้วยอาหารที่ช่วยซ่อมลำไส้ เพิ่มอาหารหรือสารที่ทำให้เกิดกระบวนการย่อยอาหารได้อย่างสมบูรณ์
  • Repopulate: เสริมสร้างแบคทีเรียชนิดดี และอาหารของมัน เพื่อปรับสมดุลของลำไส้ เช่น การรับประทานอินนูลิน
  • Repaire: ซ่อมแซมด้วยอาหารเสริม ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย เป็นการให้สารอาหารหลากหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการซ่อมแซม และฟื้นฟูผนังลำไส้ให้กลับคืนสภาพที่สมบูรณ์และแข็งแรงดังเดิม

จากตอนที่แล้ว เราได้รู้ว่าโรคลำไส้รั่วซึมนี้เป็นเรื่องที่ซีเรียส หากปล่อยทิ้งไว้จะก่อให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้อีกมากมาย พอรู้แบบนี้แล้วเรายิ่งต้องดูแลลำไส้ของเราให้ดีนะคะ ในตอนนี้นกจึงอยากให้เรามาทำความรู้จักกับ โพรไบโอติคส์ เชื้อจุลินทรีย์ที่ดีต่อลำไส้กันบ้าง

มาทำความรู้จักกับ โพรไบโอติคส์ (Probiotics) กัน

​โพรไบโอติคส์ (Probiotics) คือ เชื้อจุลินทรีย์ที่มีชีวิต จุลินทรีย์เหล่านี้ได้รับการคัดเลือกแล้วว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อรับประทานเข้าไปในร่างกายแล้วจะไปตั้งรกรากอาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่แต่เดิมในลำไส้ ทำให้แบคทีเรียที่ดีมีจำนวนมากขึ้น และแบคทีเรียที่ไม่ดีจำนวนลดลง (คือพวกที่ทำให้ท้องอืด ท้องเสีย สร้างสารก่อมะเร็ง สารที่มีกลิ่นเหม็น ฯลฯ)

อาหารที่มีส่วนผสมของโพรไบโอติคส์ เช่น นมเปรี้ยว โยเกิร์ต กิมจิ หรือผลิตภัณฑ์โพรไบโอติคส์ และสำหรับประโยชน์ของโพรไบโอติคส์ มีมากมาย ดังนี้

  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
  • ช่วยรักษาโรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
  • ช่วยรักษาโรคท้องเสียบางชนิดทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
  • ช่วยลดอาการในผู้ที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวน(IBS)
  • ช่วยรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
  • ช่วยสร้างและช่วยการดูดซึมวิตามิน และเกลือแร่หลายชนิด เช่น วิตามิน เค (ช่วยการแข็งตัวของเลือด)
  • ป้องกันและรักษาเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียในช่องคลอด
  • ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด (cholesterol)
  • ช่วยกำจัดสารพิษต่างๆ รวมทั้งสารก่อมะเร็ง

รู้จักกับโพรไบโอติคส์ไปแล้ว เราคงเคยได้ยินคำว่า พรีไบโอติคส์(Prebiotics) และ ซินไบโอติคส์ (Synbiotics) กันนะคะ มาดูความหมายแต่ละอันกันค่ะ

​พรีไบโอติคส์(Prebiotics) คือ สารอาหารที่ไม่มีชีวิต ไมถูกย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะไปช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือการทำหน้าที่ของแบคทีเรียชนิดดีในลำไส้ใหญ่.. พูดง่ายๆ คือ เป็นอาหารของโพรไบโอติคส์ค่ะ อาหารพรีไบโอติคส์ เช่น อินนูลิน ที่พบในชีคโอะริ(Chicory),กล้วย หัวหอม ต้นหอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง เมื่อกินโพรไบโอติกที่เปรียบดั่งทหารดีให้กับร่างกายแล้ว ต้องป้อนพรีไบโอติกส์หรือให้อาหารแบคทีเรียทหารหาญเหล่านี้ด้วยนะคะ…เพราะกองทัพเดินด้วยท้องฉันใด…แบคทีเรียก็ทำงานด้วยอาหารฉันนั้น…ไม่งั้นก็ตายเรียบเพราะไม่มีอะไรเลี้ยงพวกเขาเหมือนกันนะคะ…อย่าฉีดหรือกินยาแอนตี้ไบโอติกส์ หรือดื่มเหล้าพรำ่เพรื่อด้วย เดี๋ยวตายหมดค่ะ

​สำหรับ ซินไบโอติคส์นั้น (Synbiotics) คือ อาหารเสริมที่ได้จากการผสมกันระหว่าง probiotics และ prebiotics ซึ่งทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กันในร่างกาย ของผู้ที่รับประทานเข้าไปช่วยส่งเสริมให้เกิดคุณประโยชน์ต่อร่างกายได้อย่างเต็มที่ และทำให้สุขภาพดีขึ้นค่ะ แบบทูอินวันไปเลย


รู้เรื่องความสำคัญของลำไส้ขนาดนี้แล้ว…ดูแลกันดีๆนะคะ…ลำไส้คือสมองที่สองของร่างกายค่ะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments