หน้าเป๊ะปังทำฮอร์โมนพังได้!

     สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านทุกท่าน คุณผู้อ่านเป็นคนหนึ่งหรือเปล่าที่เคยสงสัยว่า ทำไมหนอ คนรอบข้างเราจึงสวยหล่อเว่อร์กันซะจริง ๆ คนนั้นก็เป๊ะ คนนี้ก็หน้าสวย เค้าใช้อะไรกันน่ะเธอ นี่อาจเป็นคำถามที่สาวๆหลายคน เปิดบทสนทนาเม้าท์มอยกับเพื่อนสาวนะคะ ถ้าอยากรู้ก็ไม่แปลกหรอกค่ะ แน่นอนสิคะ ใครก็อยากที่จะมีหน้าเป๊ะปัง ดีเว่อร์…

     แต่ถ้าหยุดคิดซักนิด… หาความรู้ความเข้าใจกันซักหน่อย ก็จะรู้ว่าเพราะความสวยเป๊ะในแบบที่สาว ๆ คลั่งไคล้แบบนี้แหละ ประโคมใช้โปรดักส์ไอเท็มชิ้นเด็ดกันเข้าไป จนหน้าเป๊ะปัง ทำฮอร์โมนพังได้ ที่มาของหัวข้อในวันนี้ เราเลยต้องมาแชร์ข้อมูลจากงานวิจัยกันหน่อย ขอบคุณข้อมูลจาก Niche Natural Health นะคะ

      ในแต่ละวันผู้หญิงหนึ่งคนจะใช้ผลิตภัณฑ์ความงามโดยเฉลี่ยมากถึง 12 ชนิด ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมถึง 168 ชนิด ในส่วนผสม 168 ชนิดนี้ ส่วนใหญ่เป็นสารเคมีที่รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อหรือความสมดุลของฮอร์โมนนั่นเอง

สารในเครื่องสำอางที่ควรระวัง

     มีงานวิจัยใหม่ที่แสดงให้เห็นว่าสารเคมีเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างกระทบต่อภาวะเจริญพันธุ์ แต่ยังเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดภาวะเจ็บป่วยอื่นเช่น โรคอ้วนและโรคหลอดเลือดหัวใจ มาดูกันค่ะว่า มีสารตัวไหนบ้างที่เราควรระมัดระวังในเครื่องสำอาง

พทาเลท (Phthalates)

     โดยทั่วไปแล้ว Phthalates เป็นสารเคมีที่ใช้เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความอ่อนตัวให้กับพลาสติก สารนี้สามารถซึมเข้าสู่ร่างกายได้ และพบว่ามีการใช้สาร Phthalates ในผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผู้หญิงด้วย ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณไม่มาก แต่เราสามารถพบสารนี้ได้ตามส่วนของของเหลวในร่างกาย รวมทั้งในเลือด น้ำนม น้ำลายและปัสสาวะ

     Phthalates จะมีฤทธิ์คล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจน และสามารถรบกวนการทำงานของต่อมไรท่อที่ทำหน้าที่ยับยั้งฮอร์โมนแอนโดรเจน จากการศึกษาพบว่าPhthalates ส่งผลต่อเด็กแรกเกิด ทำให้เกิดภาวะระยะจากทวารถึงอวัยวะสืบพันธุ์สั้นในทารกเพศหญิง รวมถึงพบว่าสารนี้ส่งผลให้เด็กเพศหญิงเข้าสู่ภาวะเจริญพันธุ์ได้ช้ากว่าปกติและต่อมหมวกไตทำงานผิดปกติ จากการศึกษาต่อมา มีการตรวจพบสาร Phthalates สูงในปัสสาวะของหญิงที่เป็นสาวก่อนวัย ดังนั้นอาจเรียกได้ว่าการได้รับสาร Phthalates จะปรากฏผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนในผู้หญิง

     นอกจากนี้ มีการศึกษาหาความสำพันธ์ระหว่างสารPhthalates และความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุ ผลการศึกษาบ่งชี้ได้ว่าสาร Phthalates มีผลต่อระดับไขมัน LDL จึงเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ

ไบฟีนอล เอ หรือ บีพีเอ (Bisphenol A or BPA)

     Bisphenol A (BPA) เราได้รับสารนี้เข้าสู่ร่างกายทางปาก, ระบบทางเดินอาหาร และการสัมผัส ซึ่งสารนี้มาจากอาหารที่ถูกห่อด้วยแผ่นฟรอยด์กันความร้อนซึ่งมีสารBPAอยู่ สารนี้อาจได้รับโดยการดื่มน้ำที่สัมผัสกับแผ่นกันความร้อน และจากการสัมผัสหรือข้าวของเครื่องใช้ในบ้าน

     BPA ส่วนใหญ่ถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะและสามารถตรวจพบสารได้ในส่วนของของเหลวและเนื้อเยื่อในร่างกาย จากการศึกษา พบว่าสารนี้ มีผลต่อผลภาวะดื้อต่ออินซูลินและผลต่อการทำงานของเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานมากขึ้น และยังมีผลต่อการเพิ่มการสร้างเซลล์ไขมัน ซึ่งทำให้เกิดโรคอ้วนได้ นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการอักเสบและก่อสารอนุมูลอิสระในร่างกายด้วย

ไตรโครซาน (Triclosan)

     ไตรโครซาน คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่มักใช้ในการผลิตสบู่ประเภทต้านเชื้อแบคทีเรีย และบางครั้งถูกใช้ผสมในยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก เครื่องสำอาง น้ำยาซักผ้า กระดาษทิชชู่ เสื้อผ้า รวมทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพอีกมากมายหลายชนิด

     Triclosan สามารถซึมผ่านผิวหนังและเข้าร่างกายทางระบบทางเดินอาหาร และยังมีการตรวจพบสารนี้ในปัสสาวะในตัวอย่างปัสสาวะถึง75% Triclosan มีโครงสร้างคล้าย BPA และ ฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งสารนี้อาจมีผลกระทบต่อการทำงานของต่อมไร้ท่อ และยังพบว่า Triclosan อาจมีผลต่อโอกาสของการตั้งครรภ์ลดลงด้วย

พาราเบน (Parabens)

     อันนี้ถือเป็นสารยอดฮิต ชื่อติดตลาดแล้ว แทบทุกคนที่ห่วงสุขภาพ รักออร์กานิคจะรู้จักดี พาราเบนเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งเครื่องสำอาง อุปกรณ์อาบน้ำทารก ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย แชมพู ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ

     พาราเบนสามารถซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังและขับออกทางปัสสาวะ แต่พบว่ายังมีการสะสมตามเนื้อเยื่อส่วนต่างๆในร่างกายด้วย  จากการศึกษาพบว่าพาราเบนมีผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์เพศหญิงและการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง และมีผลทำให้รังไข่เสื่อมได้เร็วขึ้นด้วย ซึ่งมีผลต่อภาวะมีบุตรยาก

     ถึงแม้ว่างานวิจัยอีกหลายชิ้นที่จำเป็นจะต้องพิสูจน์ หาผลกระทบที่แท้จริงต่อไป บางการศึกษายังไม่มีข้อสรุปที่ สามารถยืนยันอันตรายจากสารเหล่านี้ได้ แต่เราก็ไม่อาจวางใจ หากเลือกได้เราควรใส่ใจพิถีพิถันในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากสารอันตรายเหล่านี้ โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือลองมองหาผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค ซึ่งปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ออร์แกนิคจะมีสารเหล่านี้เป็นจำนวนน้อย หรืออาจไม่มีเลยค่ะ

     การแต่งหน้าเพื่อการแสดงให้กับเด็ก ๆ เล็ก ๆ อายุน้อย ๆ นั้นอาจมีอันตรายที่แผงมาด้วยต่อฮอร์โมนของเขาและเธออย่างคาดไม่ถึงนะคะ แต่งหน้าให้เด็กทำที่จำเป็น อย่าทำบ่อยเป็นประจำ และต้องล้างออกให้หมดจดจริงๆ หลีกเลี่ยงไม่แต่งหน้าให้เด็กเลย ปล่อยให้พวกเขาสวยงามอ่อนเยาว์ตามธรรมชาตินั้นดี และปลอดภัยที่สุด ตอบนี้การประกวดต่าง ๆ ก็เยอะ โซเชี่ยลก็มาแรง แต่งหน้าให้เด็กโดยใช้แอปพลิเคชั่นเจ๋ง ๆ น่าจะดีกว่า


     คุณแม่ที่ตั้งครรภ์หรือคาดว่าจะตั้งครรภ์ก็ควรใส่ใจเรื่องนี้เช่นกัน จริงๆ อยู่ใครๆ ก็อยากสวยทุกขณะจิต แต่หากได้ข้อมูลเหล่านี้แล้ว มันคุ้มค่ากับความสวยเพียงชั่วคราวหรือเปล่า ต้องลองคิดดูกันให้ดี ๆ ค่ะ แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments