ทานโปรตีนจากพืชทำให้มีอายุยืนยาวกว่าโปรตีนจากสัตว์

     การทานโปรตีนจากสัตว์นั้นให้ประโยชน์ต่อร่างกาย แต่คุณผู้อ่านทราบไหมค่ะว่าโปรตีนจากพืชมีประโยชน์เช่นกัน ในตอนที่ผ่านมานกเคยนำเสนอเรื่องโปรตีน จากถั่วลันเตาที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย และในวันนี้มีงานวิจัยจากหลากหลายสถาบันที่จะยืนยันว่า การทานโปรตีนที่มาจากพืชจะมีประโยชน์ และทำให้อายุยืนยาวกว่าทานโปรตีนที่มาจากสัตว์ค่ะ

     ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ที่ศึกษาผลกระทบด้านสุขภาพของโปรตีนชนิดต่าง ๆ ได้ทำการศึกษาเรื่องการบริโภคโปรตีนจากพืชแทนเนื้อสัตว์ โดยติดตามกลุ่มตัวอย่างกว่า 130,000 คน ใช้เวลาทำนานถึง 36 ปี โดยติดตามทั้งการควบคุมอาหาร การใช้ชีวิต การเจ็บป่วยและการเสียชีวิต พบว่า

  • ถ้าเปลี่ยนโปรตีน จากเนื้อสัตว์เป็นพืชทุกๆ 3% จะลดโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร = 10% และลดโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจ = 12%
  • ถ้าไม่กินเนื้อสำเร็จรูป เช่น หมูแผ่น หมูหยอง ไส้กรอก เนื้อเค็ม จะลดโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร = 12%
  • ถ้ากินโปรตีนจากสัตว์เพิ่ม 10% จะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร = 2% และเพิ่มโอกาสเสียชีวิตจากโรคหัวใจ = 8% และโดยเฉพาะผู้ที่ทานเนื้อแดง(Red meat) หรือเนื้อสัตว์ 4 เท้า เช่น หมู แพะ แกะ วัว ควาย จะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควร มากกว่าคนที่กินเนื้อสัตว์เล็ก คือ ไก่ ปลา

     มีการศึกษาจากเมโยคลินิก สหรัฐฯ ทำการทบทวนงานวิจัย 6 รายงาน รวมกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1.5 ล้านคน (ตีพิมพ์ใน Am Osteopathic Association) พบว่า

  • คนที่ทานเนื้อแดง (สัตว์ 4 เท้า เช่น เนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อแกะ ) แม้กระทั่ง ปลาและไก่น้อยมาก นาน 17 ปีขึ้นไป มีอายุเฉลี่ยมากกว่าคนที่กินเนื้อเป็นประจำ = 3.6 ปี
  • คนที่กินเนื้อแดง หรือสัตว์ 4 เท้า และเนื้อสำเร็จรูปเช่น หมูแผ่น หมูหยอง หมูยอ ไส้กรอก มีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะจากโรคหัวใจขาดเลือด

     อีกการศึกษาที่รวมกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 126,000 คน ติดตามไป 32 ปี (ตีพิมพ์ใน JAMA Intern Med) พบว่า  คนที่ได้รับพลังงานจากน้ำตาล หรือธัญพืชขัดสี (ข้าวขาว แป้งขาว) แทนน้ำมัน (ไขมัน) มีโอกาสเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้น  ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู และไขมันทรานส์ เช่น เนยขาว (พบในเบเกอรี่ คุกกี้ ขนมปัง ครีมเทียม) เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด  ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง และไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ซึ่งพบในพืชหลายชนิด (ไม่รวม น้ำมันมะพร้าว กะทิ น้ำมันปาล์ม) สามารถช่วยลดเสี่ยงโรคหัวใจขาดเลือด  โดยสรุปภาพรวมแล้ว เพื่ออายุยืนอย่างมีคุณภาพเราควรปฏิบัติดังนี้

① ลดการกินเนื้อสัตว์ใหญ่ หรือสัตว์ 4 เท้า
② ลดเนื้อสำเร็จรูปให้มากที่สุด
③ ลดน้ำตาล
④ กินผลไม้ทั้งผล งดน้ำผลไม้
⑤ ลดธัญพืชขัดสี เปลี่ยนข้าวขาว เป็นข้าวกล้อง เปลี่ยนขนมปังขาว เป็นขนมปังโฮลวีท


     แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments