จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์”
นี่คือคำถามยอดฮิตของคนกินดีอยู่ดีมีอาหารอร่อยๆ รับประทานอยู่ตลอดเวลา ว่า จริงหรือไม่? กินไก่มาก เป็น “โรคเกาต์” มาหาคำตอบกันก่อนค่ะว่า โรคเกาต์ คืออะไร ?
โรคเกาต์ คืออะไร ?
โรคเกาต์ เป็นโรคข้อซึ่งเกิดจากภาวะกรดยูริก ในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจนตกตะกอน ทำให้เกิดโรคข้ออักเสบ ซึ่งโรคนี้รักษาหายขาดได้ หากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมและต่อเนื่อง อาการของโรคเกาต์ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
➀ ระยะข้ออักเสบเฉียบพลัน มักเกิดที่ข้อหัวแม่เท้า หรือข้อเท้า ข้อปวดบวมแดงรุนแรงใน 24 ชั่วโมงแรก หากไม่รักษาสามารถหายได้เองใน 5-7 วัน และส่วนใหญ่จะเป็นซ้ำ ๆ
➁ ระยะไม่มีอาการ หลังจากข้ออักเสบหาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการปรากฎให้เห็น
➂ ระยะเรื้อรัง หลังจากมีอาการซ้ำ 3-5 ปี ข้ออักเสบจะมีจำนวนมากขึ้น ลามมาที่ข้ออื่น ๆ และเกิดก้อนจากผลึกของกรดยูริกขนาดโตขึ้นเรื่อย ๆ อาจแตกเห็นเป็นผงขาวนวลคล้ายชอล์ก
สิ่งที่ต้องรู้จักคู่โรคเก๊าท์ก็คือ “กรดยูริก”
สิ่งที่ต้องรู้จักคู่โรคเก๊าท์ก็คือ กรดยูริก นะคะ ทีนี้มันคืออะไร ? กรดยูริก ส่วนใหญ่ร่างกายสร้างเอง มีเพียงส่วนน้อยไม่ถึงร้อยละ20 ที่ได้รับจากอาหาร คนปกติค่าในเลือดจะอยู่ในระดับไม่เกิน 7 มิลลิกรัม/เดซิลิตรในเพศชายและหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ส่วนหญิงในวัยที่ยังมีประจำเดือนจะมีระดับไม่เกิน 6 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ค่าที่สูงเกินกว่าระดับดังกล่าวถือว่ามีภาวะกรดยูริกสูง ทีนี้มาดูกันค่ะว่าอาหารอะไรที่ทำให้มีกรดยูริกสูง
➀ เหล้าและเบียร์
➁ เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ, ไต, สมอง
➂ ยอดผัก เช่น แตงกวา ชะอม สะเดา กระถิน เห็ด
➃ อาหารทะเล
➄ อาหารที่มีไขมันสูง เช่น ขนมเค้ก ขนมปัง น้ำหวาน น้ำผลไม้ที่มีรสหวาน
และมาถึงคำถามสำคัญ แล้วไก่กับเก๊าท์มันเกี่ยวกัน อย่างไร?
ไก่กับเก๊าท์มันเกี่ยวกัน อย่างไร ?
เพราะไก่ และสัตว์ปีกทุกชนิดเป็นอาหารที่มีกรดยูริกสูงระดับปานกลางนั่นเอง ในทางการแพทย์จึงแนะนำให้ผู้ที่เป็นเก๊าท์ หรือมีประวัติของพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง เคยเป็นโรคนี้มาก่อน ให้หลีกเลี่ยง หรือลดเมนูไก่และสัตว์ปีกลง แต่ถึงแม้คุณกำลังเป็นเก๊าท์อยู่ ก็สามารถกินสัตว์ปีกได้สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยงดกินบริเวณส่วนที่เป็นข้อต่อต่างๆ แต่ให้เลือกกินบริเวณอกไก่แทนจะดีกว่า แต่ส่วนคนที่ไม่ได้เป็นโรคเก๊าท์ หรือที่บ้านไม่มีประวัติของญาติเป็นโรคเก๊าท์ ยังคงกินเมนูไก่และสัตว์ปีกได้อย่างปกติ โดยไม่ต้องกังวลว่า เมื่อกินแล้วจะทำให้เป็นโรคเก๊าท์หรือเปล่า เพราะไก่หรือสัตว์ปีกไม่ได้เป็นตัวการทำให้เกิดโรคนี้ คุณจึงยังคงเพลิดเพลินกับเมนูสัตว์ปีกได้อย่างอิ่มหนำสำราญเช่นเดิมค่ะ
ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์
มาดูข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์กันซักหน่อย
① พบแพทย์แพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อติดตามผลการรักษา
② หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ได้แก่ การหยุดยาเอง/รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ, การดื่มเหล้าเบียร์, ในรายที่อาหารที่มีกรดยูริกสูงบางชนิดที่กระตุ้นการกำเริบของโรคควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าว, การนวด/บีบข้อ เป็นต้น
③ รักษาโรคร่วมและดูแลสุขภาพ ที่สำคัญได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, ไขมันสูง, โรคหัวใจ, นิ่วไต, โรคอ้วน, และควรงดสูบบุหรี่
ทีนี้ก็เข้าใจตรงกันนะ คราวหน้าหยิบไก่รับประทานได้… ไม่ต้องกังวลมากเกินไป… อีกแล้วค่ะ เพียงแต่อย่าให้มากเกินไปก็แล้วกันค่ะ
แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ