สารตะกั่วมาทำร้ายเราได้ทางไหนบ้าง ?

     นกขอคุยต่อเนื่องจากเรื่องโลหะหนักตอนที่แล้วนะคะ พูดถึงโลหะหนัก สารตะกั่วนี่อันตรายมาอันดับต้น ๆ เลยค่ะ เรามักนึกว่ามีอยู่เฉพาะในน้ำมันรถ เวลาที่เราไปเติมน้ำมันละต้องสูดดม แต่คุณผู้อ่านรู้มั้ยคะว่าสารตะกั่วนั้นปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เราคาดไม่ถึงว่าแต่จะปนเปื้อนอยู่ในอะไรบ้างนั้นต้องอัพเดตอันตรายกันหน่อยค่ะ

     สารตะกั่ว” ส่งผลร้ายต่ออวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย หากได้รับในปริมาณมาก จะทำลายระบบประสาท ความดันโลหิตสูง อาเจียน ชัก และอาจจะรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะในเด็ก สารตะกั่ว มีส่วนเกี่ยวพันธ์กับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น อารมณ์ก้าวร้าว สมาธิสั้น มีผลต่อความเฉลียวฉลาด เพราะมันทำให้คะแนน IQ ของเด็กลดลง และสตรีมีครรภ์ หากได้รับสารตะกั่ว ก็อาจจะทำให้แท้ง หรือให้กำเนิดทารกที่ผิดปกติได้

สิ่งที่มักพบการปนเปื้อนของสารตะกั๋ว

     ถึงแม้ว่าพิษของสารตะกั๋วจะมีผลร้ายมาก  แต่อย่างไรก็ตาม สารพิษดังกล่าวนี้ ยังคงมีอยู่ในสภาพแวดล้อม และที่สำคัญคือ มันปนเปื้อนอยู่ในสิ่งที่เราอาจนึกไม่ถึง ดังต่อไปนี้

① สี

     สมัยก่อนจะมีการใช้สารตะกั่ว ผสมลงไปในสี เป็นเรื่องปกติ เพราะมันช่วยให้สีสวยขึ้น ทาง่ายขึ้น แม้ปัจจุบัน จะมีการใช้สารตะกั่วผสมสีน้อยลงแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะนิ่งนอนใจได้ การจะเลือกสีมาใช้ จึงควรต้องมีความละเอียดรอบคอบ

② อาหาร

     แม้แต่ผักที่ปลูกในดิน อาหาร ภาชนะใส่อาหาร ก็อาจมีการปนเปื้อนสารตะกั่วได้ จากฝุ่นสี การเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง ฝุ่นผงจากโรงงานอุตสาหกรรมที่ลอยมาตามอากาศ ทุกขั้นตอนตั้งแต่การห่ออาหารส่งจำหน่าย การเตรียมอาหาร การเก็บอาหาร ต่างก็มีความเสี่ยงด้วยกันทั้งนั้น

④ ลูกอม

     ลูกอมจากหลายประเทศ อาจมีการปนเปื้อนสารตะกั่ว แม้จะไม่สามารถตรวจสอบผลที่แน่ชัด แต่ก็ได้มีการออกคำเตือนให้ระมัดระวังการนำเข้าลูกอม เพราะทั้งกระบวนการผลิต การเก็บ และส่วนผสมนั้นของบางประเทศ ยังไม่ได้มาตรฐาน

เมื่อปีพุทธศักราช 2560 มีข่าวเอ็นจีโอประเทศไทยสุ่มตรวจพบการปนเปื้นของสารตะกั๋วในช็อกโกแลต 18 ชนิด แต่คนรักช็อกโกแลตก็ไม่ต้องตกใจไป เพราะเป็นค่าการปนเปื้อนที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ และเป็นปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในกฎหมาย | ภาพโดย Hans Braxmeier @ https://pixabay.com/photos/693645/

⑤ ของเล่น

     ของเล่นเด็กบางอย่างก็มีสารตะกั่วปนเปื้อนเช่นกัน โดยเฉพาะของเล่นที่มีสีสันสวยงาม แม้แต่กล่องใส่อาหาร หรือสีเทียน ก็อาจพบการปนเปื้อนได้ แม้จะปริมาณเล็กน้อย แต่ก็อาจจะสร้างปัญหาให้กับเด็กบางคนได้เช่นกัน

⑥ ของใช้ในครัวเรือน

     สิ่งของต่าง ๆ ที่อยู่ในบ้านของเราไม่ว่าจะเป็นเฟอร์นิเจอร์โบราณ เซรามิค งานศิลปะ อาจจะมีสารตะกั่วปนเปื้อน เพราะของเก่า ของโบราณ จะยังใช้สี และการเคลือบเงา ที่มีส่วนผสมของสารตะกั่ว รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกไวนิลด้วย

⑦ ยาสามัญประจำบ้าน และเครื่องสำอาง

     ยารักษาอาการผื่นคัน ยาแก้ไข้ ยาแก้ท้องเสีย อาจมีส่วนผสมของสารตะกั่ว ส่วนเครื่องสำอางนั้น ยิ่งต้องเพิ่มความระมัดระวัง โดยเฉพาะเครื่องสำอาง ที่มาจากอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง โดมินิกัน และเม็กซิโก


     ถึงจะพบสารตะกั่วจากผลิตภัณฑ์ต่างๆ รอบตัวแทบจะทั้งหมด แต่ก็ใช่ว่าเราจะหลีกเลี่ยงการรับสารตะกั่วเข้าสู่ร่างกายไม่ได้นะคะ ทางที่ดีที่สุด คือพยายามใช้ หรือเลือกทานอาหารจากแหล่งผลิตให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ทาน หรือใช้ผลิตภัณฑ์เดิมๆ หรือจากแหล่งผลิตเดิมๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานมากเกินไป จะช่วยหลีกเลี่ยงการสะสมสารปนเปื้อนต่างๆ ที่มาพร้อมกับผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อยค่ะ แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments