10 อาหารแสลงที่ห้ามกินเมื่อป่วยด้วยโรคต่อไปนี้

     เวลาที่ไม่สบายคุณผู้อ่านเคยโดนห้ามทานของชอบมั๊ยคะ ? เช่นตอนเจ็บคอก็ห้ามดื่มน้ำเย็น ถ้าไออยู่ก็ห้ามกินของมันของทอด… จริง ๆ แล้วมีข้อห้ามของการรับประทานทานเยอะมากเลยนะคะเวลาที่เราป่วย วันนี้นกมี 10 อาหารแสลงที่ห้ามกินเมื่อป่วยด้วยโรคต่อไปนี้ มาดูกันเลยค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

อาหารที่ห้ามกินเมื่ออาการป่วยต่าง ๆ


     แต่ละโรค  แต่ละอาการ  ก็จะมีของที่ห้ามกินต่างกันออกไป  และวันนี้นกขอหยิบโรคที่คนส่วนรู้จักกันทั่วไป 10 โรค  ว่าคนที่เป็นโรคแต่ละอย่างไม่ควรกินอาหารชนิดไหน

➀ เป็นไข้หวัด

     มีไข้สูง ควรหลีกเลี่ยงอาหารไม่สุก อาหารที่เย็นมากๆ อาหารทอด อาหารมัน ซึ่งเป็นอาหารที่ย่อยยาก จะทำให้เกิดความร้อนสะสมเปรียบเสมือนอาหารเชื้อเพลิงหรือเป็นการเติมน้ำมัน เข้าไปในกองไฟ ซึ่งถ้าทานไป จะทำให้ไข้ไม่ลดลงค่ะ และแนะนำว่าควรจะเป็นอาหารอ่อนๆที่ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้ม เป็นต้น

➁ โรคกระเพาะ

     ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ น้ำอัดลม ชาแก่ๆ กาแฟ ของเผ็ด ของทอด ของมัน เพราะอาหารเหล่านี้ ทำให้เกิดการระคายเคืองกับกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม และยังเพิ่มความร้อนสะสมในร่างกาย ทำให้โรคหายยาก ทางที่ดีควรจะรับประทานอาหารปริมาณน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง รับประทานอาหารให้ตรงเวลาและเป็นอาหารที่ย่อยง่าย

สเต็กน่าจะเป็นอาหารโปรดของใครหลายคน แต่เมื่อมีอาการป่วยบางอย่างอาจจะต้องงด | ภาพโดย RitaE @ https://pixabay.com/photos/2975331/

➂ โรคความดันเลือดสูง

     ควรหลีกเลี่ยงอาหารมันอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น หมูสามชั้น ไขกระดูก ไข่ปลา โกโก้ รวมทั้งเหล้า เพราะอาหารเหล่านี้ ทำให้เกิดความหนืดของการไหลเวียนเลือดและเพิ่มความร้อนในร่างกาย ซึ่งจะไปกระตุ้นทำให้เกิดความดันสูงเพิ่มขึ้นอีก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ด หรืออาหารหวานมาก รวมทั้งผลไม้อย่างลำไย ขนุน ทุเรียนด้วยค่ะ

➃ โรคตับและถุงน้ำดี

     น้ำดี มีหน้าที่สำคัญต่อการย่อยอาหารประเภทไขมัน ดังนั้น ผู้ที่มีปัญหาเรื่องระบบถุงน้ำดี ควรหลีกเลี่ยงอาหารมัน เนื้อติดมัน เครื่องในสัตว์ อาหารทอด อาหารหวานจัด ซึ่งอาหารเหล่านี้ จะทำให้ระบบการย่อยอาหารของน้ำดีทำงานหนักมากเกินไปและไม่สามารถทำงานได้เพียงพอกับปริมาณอาหารไขมันที่ทานเข้ามาได้ และโรคตับ ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะแอลกอฮอล์จะไปทำลายเซลล์ตับและทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ในที่สุด อย่างที่เรารู้จักกันในโรคตับแข็งนั่นเองค่ะ

➄ โรคหัวใจและโรคไต

     ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเค็มจัด เพราะจะทำให้มีการเก็บกักน้ำ การไหลเวียนเลือดจะช้าทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น ไตต้องทำงานขับเกลือแร่มากขึ้น ส่วนอาหารรสเผ็ดก็ควรหลีกเลี่ยงเพราะทำให้กระตุ้นการไหลเวียนสูญเสียพลังงาน และหัวใจก็ทำงานหนักขึ้นเช่นกัน

     มันฝรั่งทอดกรอบส่วนใหญ่เป็นอาหารที่มีทั้งไขมันและโซเดียมสูง ถึงแม้ไม่ป่วยก็ไม่ควรกินเยอะ | ภาพโดย Ajale @ https://pixabay.com/photos/potato-chips-meal-dessert-delicacy-1081467/

➅ โรคเบาหวาน

     หลีกเลี่ยงอาหารรสหวานหรือแป้งที่มีแคลอรี่สูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ ควรรับประทานอาหารพวกถั่ว เช่น เต้าหู้ นมวัวรสจืด เนื้อสันไม่ติดมัน ปลา ผักสด รวมทั้งผลไม้ที่มีรสหวานจัด เช่น ทุเรียน ลำไย

➆ นอนไม่หลับ

     หลีกเลี่ยงชา กาแฟ รวมทั้งการสูบบุหรี่ เพราะอาหารเหล่านี้ มีฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ไม่ง่วงนอนหรือนอนหลับไม่สนิท

➇ โรคริดสีดวงทวารหรือท้องผูก

     หลีกเลี่ยงอาหารประเภทหอม กระเทียม ขิงสด พริกไทย พริก เพราะอาหารเหล่านี้อาจทะให้ท้องผูก หลอดเลือดแตกและอาการริดสีดวงทวารกำเริบ

➈ ลมพิษ

     ผิวหนังอักเสบ หรือโรคหอบหืด ควรหลีกเลี่ยงเนื้อแพะ เนื้อปลา กุ้ง หอย ปู ไข่ นม และอาหารรสเผ็ด เพราะจะไปกระตุ้นและทำให้อาหารผิวหนังกำเริบ
     กุ้งเป็นหนึ่งในอาหารรสเลิศที่คนเป็นลมพิษจะกินไม่ได้ | ภาพโดย RitaE @https://pixabay.com/photos/salmon-fish-scampi-fried-cook-3888828/

➉ สิวหรือต่อมไขมันอักเสบ

     งดอาหารเผ็ดและมันเพราะทำให้เกิดการสะสมความร้อนชื้นของกระเพาะอาหาร ม้าม มีผลต่อความร้อนชื้นไปอุดตันพลังของปอด ควบคุมผิวหนังขนตามร่างกายทำให้เกิดสิว


     ทราบข้อมูลที่ช่วยให้หายไม่สบายได้ไวขึ้นแบบนี้แล้ว  อย่าลืมแชร์ต่อนะคะ มาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube นะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments