การรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย

     เพิ่งผ่านพ้นเดือนตุลาคมกันไปไม่นานนะคะ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเดือนที่มีความพิเศษสำหรับผู้หญิงทั่วโลกก็ว่าได้ โดยถือเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งเต้านม หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ Breast Cancer Awareness Month โดยองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ต่างให้ความสำคัญ และต่างพร้อมใจร่วมจัดกิจกรรม หรือโครงการต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ และกระตุ้นเตือนให้ผู้หญิงทั่วทุกมุมโลกได้ตระหนักถึงภัยร้ายของมะเร็งเต้านม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของผู้หญิงทั่วโลก

     วันนี้นกได้รับความรู้ที่อัพเดตเกี่ยวกับนวัตกรรมใหม่ในการรักษา มะเร็งเต้านมในระยะลุกลามและแพร่กระจายจาก รศ. นพ. นรินทร์ วรวุฒิ แพทย์หญิง คิมเบอร์ลีย์ ลินน์ แบล็คเวลล์ และ ผศ. พญ. เอื้อมแข สุขประเสริฐ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ท่านได้มาร่วมพูดคุยถึงแนวโน้มของอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านม รวมถึงแนวทางการรักษา และการป้องกัน เพื่อเป็นความหวังให้กับผู้ป่วยในโรคมะเร็งเต้านม

     อุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งเต้านมในปัจจุบันนี้มีตัวเลขที่น่าตกใจมาก มะเร็งเต้านมนอกจากจะติดอันดับมะเร็ง 3 อันดับแรกที่ผู้หญิงเป็นแล้วยังเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิงถึง 1 ใน 3 มีอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 3% ต่อปี ยิ่งเป็นตอนอายุน้อยคือต่ำกว่า 35 ปียิ่งมีโอกาสตายเร็ว มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่ไม่มีสัญญาณเตือน มีระยะตั้งแต่ 0,1,2,3,4 ซึ่งระยะที่ 4 คือระยะสุดท้ายที่แพร่กระจายแล้วที่พบมากคือแพร่กระจายไปสู่ กระดูก ปอด ตับและสมอง โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตคือการแพร่กระจายของมะเร็งไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ภายหลังการตรวจพบในครั้งแรกพบว่าร้อยละ 30 ของมะเร็งเต้านมจะมีการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

     มะเร็งเต้านมชนิดที่มีการตอบสนองต่อยาต้านฮอร์โมน 2 เป็นชนิดที่พบได้ร้อยละ 65 ของสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมที่มีอายุระหว่าง 35-65 ปี และ ร้อยละ 82 ของสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป แนวทางการรักษาแบบดั้งเดิมมีทั้งผ่าตัด ฉายแสง และให้ยา ซึ่งในวันนี้มียายับยั้งการทำงานของโปรตีนซีเคดี 4/6 ที่ได้รับการรับรองจาก อย. เป็นครั้งแรกในไย เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย

     นวัตกรรมใหม่ในการรักษามะเร็งเต้านมในระยะลุกลามและแพร่กระจายนี้เป็นทางเลือกใหม่ให้กับแพทย์ เพื่อใช้ควบคุมกับการให้ยาต้านฮอร์โมนที่ยับยั้งสัญญาณที่ทำให้เซลล์เจริญเติบโต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายชนิดมีผลการตรวจรับฮอร์โมนเป็นบวก (HR+) และมีผลการตรวจรับเฮอร์ทูเป็นลบ (HER2-)

     การค้นพบนวัตกรรมการรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญและนับเป็นยาตัวแรกของยาต้านมะเร็งชนิดที่ยับยั้งการทำงานของโปรตีนซีดีเค 4/6 ซึ่งใช้ร่วมกับการรักษาโดยการให้ยาต้านฮอร์โมนได้อย่างมีประสิทธิผลที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับทางเลือกอื่นๆ โดยยาดังกล่าวได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา ให้ใช้ปัญญาอันดับแรก (First Line) ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลามหรือแพร่กระจายชนิด ER+/HER 2- วัยหมดประจำเดือนและจะเป็นทางเลือกใหม่ในการรักษาเพื่อยืดอายุและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วยในประเทศไทย

     นวัตกรรมใหม่นี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่เนื่องจากยาชนิดนี้เมื่อใช้ร่วมกับ Letrozole สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตโดยโรคสงบเกือบสองเท่าเมื่อเทียบกับการรักษาโดยให้ Letrozole เพียงอย่างเดียวซึ่งถือเป็นมาตรฐานการรักษาสำหรับผู้ป่วยมะเร็งกลุ่มนี้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทยจำกัด

     มะเร็งเต้านม หากรู้ก่อนและตรวจพบ ได้รับการรักษาตั้งแต่แรก มีโอกาสหายขาด เอาใจใส่สุขภาพเต้านมของตนเองอย่างสม่ำเสมอนะคะ ตามนโยบาย”รักษ์เต้าเท่าชีวิต”


     แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments