เรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับ “สารเร่งแก่”

     พูดถึงเรื่องความแก่คนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงสภาพผิวพรรณที่เหี่ยวย่น ริ้วรอย ความหมองคล้ำ จุดด่างดำ และรอยแดงจากเส้นเลือดฝอยแตก ผิวหนังคนเรานั้นถือว่าอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกายที่เรามองเห็นได้ทันที ในทาง Anti-Aging หรือศาสตร์ชะลอวัยนั้นเราจะมองถึงเรื่องของความแก่แบบลงลึกเข้าไปถึงระดับเซลล์ และเรื่องของ “สารทำแก่” ก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิวเผินซะด้วย เป็นอะไรที่เรียกว่าต้องปรับไลฟ์สไตล์กันเลยทีเดียวถ้ากลัวแก่ก่อนวัยอันควร วันนี้นกมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “สารทำแก่” มาฝากทุกคนกันค่ะ

ความชราที่แสดงออกทางผิวพรรณนั้น เกิดจากปัจจัย 3 ประการ นั่นก็คือ

     1. ฟรีเรดิคัล (Free Radical) หรืออนุมูลอิสระ เกิดจากการสันดาปของออกซิเจนร่วมกับการที่ผิวหนังสัมผัสกับแสงแดดที่มีอัลตราไวโอเลจเอ และบี
     2. เอนไซม์ทำแก่ ซึ่งได้แก่ เอนไซม์คอลลาจีเนส (Collagenase) ทำให้เกิดการสลายคอลลาเจนในร่างกายเมื่ออายุมากขึ้น
     3. สารทำแก่ หรือ เอจีอี AGE (Advanced Glycation End-Products)

ปัจจัยสองประการแรกเป็นเรื่องที่ทราบกับมานาน แต่ประการที่สามเป็นเรื่องที่ใหม่และน่าสนใจ

สารที่ทำให้เราแก่ หรือ “สารทำแก่” เกิดจากอะไร?

     สารทำแก่ เกิดจากปฏิกิริยาไกลเคชั่น (Glycation) ซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดจากน้ำตาลไปเกาะกับโปรตีนไกลเคชั่น เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดริ้วรอย และความชรา แถมยังทำให้โรคที่เกิดจากความชรามีอาการแย่ลงอีกด้วย

ส่วนประกอบของร่างกายมนุษย์โดยประมาณ – https://www.thoughtco.com/chemical-composition-of-the-human-body-603995

     ร่างกายมนุษย์โดยเฉลี่ยถูกสร้างขึ้นจากน้ำ 62% ไขมัน 16% โปรตีน 16% คาร์โบไฮเดรตและสสารอื่นอื่นอีกประมาณ 6% ซึ่งโปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย โครงสร้างเนื้อเยื่อทั้งหมดมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่ทุกส่วน จึงได้รับผลกระทบโดยตรง คิดง่าย ๆ ว่าเวลาที่เรากินของหวานจัดตลอดเวลาเราก็เชื่อมตัวเราเองราวกับว่าเราเป็นหมูพะโล้ หมูหวาน กุ้งแก้ว ฯลฯ แต่น้ำตาลที่เกาะโปรตีนในร่างเราเป็นตัว “สารทำแก่” ที่ทำให้เสื่อมอย่างรุนแรงเพราะก่อให้เกิดกระบวนการที่เรียกว่า cross-linked ทำให้เกิดความเสียหายในเซลล์และการตายของเซลล์ จนเกิดความชราในอวัยวะต่าง ๆ ดังนี้เลยค่ะ

  • ทำให้โครงสร้างอีลาสตินและโครงสร้างคอลลาเจนเกิดภาวะแข็งตัว ขาดความยืดหยุ่น เกิดจุดด่างและความหมองคล้ำ
  • ทำให้เส้นเลือดเปราะขาดความยืดหยุ่น เกิดรอยเขียว ฟกช้ำง่าย และเกิดภาวะหน้าแดงจากเส้นเลือดที่เปราะแตก
  • ทำให้โรคเบาหวานแย่ลงและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เช่นไขมันในเลือดสูง เส้นเลือดแดงตีบตัน เส้นเลือดสมองตีบ
  • หัวใจขาดเลือด ไตเสื่อม
  • ทำให้เกิดภาวะไวต่อแสงในเลนส์สายตา ซึ่งทำให้เกิดต้อกระจกในอนาคต
  • ทำให้เสียการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้การทำงานของกล้ามเนื้อมีประสิทธิภาพลดลง เกิดการอ่อนแรงและเป็นตะคริว
  • ทำให้เซลล์สมองในส่วนของความจำตาย ซึ่งเมื่อมีการสะสมมากขึ้นทำให้เป็นโรคความจำเสื่อม (Alzheimer) นะคะ

ควบคุมเจ้า “ไกลเคชั่น” ให้อยู่ไกล ๆ ฉันได้อย่างไร ?

ขอไลฟ์สไตล์หนี “ฟรีเรดิคัล” ด่วน ๆ จ้า

  1. หลีกเลี่ยงแสงแดดจัด โดยการทาครีมกันแดด
  2. งดสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  3. หลีกเลี่ยงอาหารประเภทปิ้ง ย่าง หรืออาหารไหม้เกรียม
  4. ลดการบริโภคน้ำตาล อาหารหวานจัด
  5. หลีกเลี่ยงจั๊งค์ฟู้ด
  6. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  7. ออกกำลังกายพอสมควร ไม่หักโหมเกินไป มิเช่นนั้นจะเป็นการเพิ่มสารทำแก่
  8. ทานอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงเลือกอาหารเสริมที่เหมาะสมด้วย

     นกขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หนีห่าง “สารทำแก่” ได้สำเร็จนะคะ… เพื่อความอ่อนเยาว์จะเป็นของเราในทุกอวัยวะค่ะ หากชอบเรื่องสุขภาพแนวที่นกนำเสนอนี้ สามารถคลิกดูเฟซบุ๊กแฟนเพจของนกที่ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube นะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments