ไขมันนั้นดีกว่าที่คิด ?

     “ไขมัน” หลายคนพอได้ยินชื่อก็จะรู้สึกกลัว รู้สึกว่าต้องหลีกเลี่ยง นั่นก็เพราะว่าเราได้ยินชื่อแต่ข้อเสียของมัน แต่อันที่จริงแล้ว ไขมันบางชนิดมีข้อดีและยังมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมาก  ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับไขมันกันให้ดีมากขึ้น ใครที่ยังเข้าใจผิด ๆ อยู่ ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งนะคะ

     ไขมัน” คือ สารประกอบหลายชนิดซึ่งมีลักษณะร่วมกันคือ ละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์ แต่ไม่ละลายน้ำ ซี่งไขมันส่วนใหญ่ที่อยู่ในอาหารนั้น มีส่วนประกอบของกรดไขมัน (Fatty Acid) เกิดขึ้นจากคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เรียงตัวจับกันในลักษณะต่างๆ ซึ่งไขมันแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติที่ต่างกัน

ไขมันแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ

  • ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) ได้แก่ ไขมันสัตว์ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว (Monounsaturated Fat) ได้แก่ น้ำมันมะกอก
  • ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated Fat) ได้แก่ โอเมก้า 3,6 เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน
  • แล้วอันไหนคือ ไขมันดี ไขมันเลว มาดูกันค่ะ

     ไขมันดี หรือ Good Fat ก็คือไขมันที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการ อะไรมา (Unprocessed Fats) ไม่ว่าจะเป็นอิ่มตัวหรือไม่อิ่มตัว  ไขมันดี ส่วนใหญ่หมายถึง ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน ซึ่งถือว่า เป็นไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย และ มีคุณสมบัติในการเสริมสร้างสุขภาพ มี 2 ชนิด คือ โอเมก้า-3 และโอเมก้า-6 ซึ่งสัดส่วนของไขมันทั้ง 2 ชนิดนี้ควรอยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม คือโอเมก้า-3 ต่อ โอเมก้า-6 ควรอยู่ 1:3 ถึง 1:5

     แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา คนเรารับประทานอาหารเปลี่ยนไป ทำให้ร่างกายได้รับไขมันโอเมก้า-3 ต่อ โอเมก้า-6 มีสัดส่วนอยู่ที่ 1:10 ถึง 1:20 ซึ่งหากทานโอเมก้า-6 มากเกินไป ก็จะก่อให้เกิดโรคมากมาย เช่น โรคหัวใจ โรคไขมันในเลือดสูง เป็นต้น  ดังนั้นการปรับสมดุลไขมันเพื่อสุขภาพ การเพิ่มโอเมก้า-3 และลดโอเมก้า-6 เป็นเรื่องจำเป็น

โอเมก้า-3 มีอยู่ 3 ชนิด คือ

  • กรดไขมันแอลฟาไลโนเลนิก (Alpha linolenic acid : ALA)
  • กรดไขมันอีพีเอ (Eicosapentaenic acid : EPA)
  • กรดไขมันดีเอชเอ (Docosahexaenoic Acid : DHA)แหล่งไขมันโอเมก้า-3 ได้แก่ ปลาแซลมอน ปลาแม็คเคอเรล ปลาทูน่า ปลาสวาย ปลาช่อน ปลาดุก เมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดเจีย น้ำมันคาโนล่า วอลนัท เป็นต้น

โอเมก้า-6 มีอยู่ 2 ชนิด คือ

  • กรดไขมันไลโนเลอิก (Linoleic Acid : LA)
  • กรดไขมันอะราคิโดนิก (Arachidonic Acid : ARA)

     แหล่งไขมันโอเมก้า-6 ได้แก่ น้ำมันพืชชนิดต่างๆ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน อิฟนิ่งพริมโรส น้ำมันรำข้าว เป็นต้น

     ไขมันเลว หรือ Bad Fat เป็นไขมันที่ผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ (Processed Foods) เช่น ไขมันทรานส์ (Trans Fat) ไขมันทรานส์เป็นไขมันที่ร้ายที่สุดในบรรดาไขมันที่ไม่ดี โดยไขมัน ทรานส์นั้นเกิดจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันพืชซึ่งเป็นของเหลว ทำให้น้ำมันเปลี่ยนไปเป็นของแข็ง เราเรียกกระบวนการนี้ว่า “ไฮโดรจีเนชั่น” (Hydrogenation) โดยไขมันชนิดนี้จะมีมากที่สุดใน มาร์การีนชนิดแท่ง เนยขาว อาหารที่มีส่วนประกอบของเนยขาวหรือมาร์การีนจำพวกขนมและอาหารฟาสต์ฟู้ด อย่างเช่น คุกกี้ เค้ก ขนมปังขาว โดนัท เฟรนช์ฟรายส์ เป็นต้น


     ได้รู้จักกับไขมันชนิดต่าง ๆ กันมากขึ้นแล้ว ดังนั้นควรเลือกทานอาหารแต่ล่ะอย่างในปริมาณ ที่เหมาะสม ไม่มากไม่น้อยเกินไป เพื่อสุขภาพที่ดีและยั่งยืนค่ะ  แวะมาคุยเรื่องสุขภาพกับนกได้ที่แฟนเพจ Facebook: Health Society by Nok Chalida ที่อินสตาแกรม NokHealthSo หรือ Line Official: @HealthSocieity นะคะ และอย่าลืม Subscribe รายการ Health Society by Nok Chalida ทาง YouTube พร้อมชมรายชมรายการ “เฮลท์โซไซตี้” ด้วยกันนะคะ

นางสาวไทยปี 2541 จบปริญญาเอกสาขาวิทยาศาสตร์การชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รวมถึงสอบผ่านมาตรฐานผู้มีวิชาชีพด้านสุขภาพวิทยาศาสตร์ชะลอวัยจาก American Board Anti-Aging Health Practitioner สถาบัน A4M และปัจจุบันกำลังศึกษาต่อปริญญาเอกด้าน Anti Aging and Regenerative Science ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
ติดตามความเห็น
รูปแบบการแจ้งเตือน
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments