ภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy)
การแพ้อาหารมีอยู่ 2 แบบนะคะคือ การแพ้แบบเฉียบพลัน (Immunoglobulin E) คือการแพ้ที่เป็นแล้วจะรักษาไม่หาย เป็นตลอดชีวิต หากมีอาการแพ้รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย แต่ยังไม่น่ากลัวเท่ากับการแพ้แบบแอบแฝง เพราะการแพ้แบบเฉียบพลันเราจะรู้อยู่แล้วว่าเราแพ้อะไร และเลือกไม่รับประทานสิ่งนั้นได้ ส่วนการแพ้อีกแบบก็คือการแพ้แอบแฝง (Immunoglobulin G) คือยังไม่แสดงอาการโดยทันที และแพ้อาหารทั่วไปที่เรากินประจำนี่เอง
20 อาหารที่คนส่วนใหญ่แพ้
ขอเริ่มต้นด้วยนมวัวค่ะ เพราะคนเอเซียส่วนใหญ่แพ้นมวัว ซึ่งในนมวัวมีสารบางอย่างที่สามารถทำให้เราเกิดอาการแพ้เรื้อรังได้ เมื่อเกิดการแพ้สะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้เยื้อบุลำไส้เสียหาย เกิดเป็นโรคลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ทำให้สารพิษตกค้างเข้าสู่กระแสเลือด
และอีกอย่างที่คนชอบแพ้ก็คือกลูเตนที่มีอยู่ในธัญพืชหลายชนิดเลยค่ะ ขนมปังส่วนใหญ่ก็มีกลูเตน แต่ร่างกายคนส่วนใหญ่แพ้กลูเตนนะคะ และในปัจจุบันนี้ก็เริ่มมีการให้ความสำคัญกับการแพ้กลูเตนที่เราจะเห็นหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์จะมีฉลาก “Gluten Free” แปะเอาไว้
ในไข่ก็มีสารที่ทำให้เกิดการแพ้อยูนะคะ ชื่อว่าสารโอโวมิวคอยด์ (Ovomucoid) ซึ่งถ้าเราไปตรวจที่โรงพยาบาลและพบว่ามีการแพ้โอโวมิวคอยด์ก็ต้องพยายามงดไข่ค่ะ ซึ่งนอกจากนี้ก็ยังมีอาหารอีกหลายอย่างที่คนชแบแพ้ตามรายการด้านล่างนี้เลยค่ะ
นมวัว / Gliadin ในข้าวสาลี / กลูเตน / ยีสต์ / ไข่ขาว / ไข่แดง / เม็ดมะม่วงหิมพานต์ / กระเทียม / ถั่วเหลือง / อัลมอนด์ / แห้ว / ข้าวโพด / เฮเซชนัท / ถั่วแระ / ข้าวโอ๊ต / กีวี่ฟรุต / พริกไทย / เมล็ดทานตะวัน / เมล็ดงา / ถั่วลิสง
ปัจจุมันมีโรคที่บางครั้งเราหาสาเหตุไม่ได้เป็นจำนวนมาก ซึ่งเกิดจากการแพ้อาหารแบบแอบแฝง (IgG Food Allergy) อย่างโรคลำไส้รั่ว (Leaky Gut Syndrome) ที่ผิวลำไส้ถูกทำลายทำให้อาหารที่ดีไม่ถูกดูดซึม หรือว่าโปรตีนโมเลกุลใหญ่ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้ร่างกายผลิต IgG Anti Body ออกมา เป็นตัวการสำคัญที่เกิดจากอาหารที่ก่อให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ มากมายตั้งแต่หัวจรดเท้า เช่น ความคิดไม่แจ่มใส (ฺBrain Fog) นอนไม่หลับ (Insomnia) ความจำเสื่อม (Alzheimer’s disease) รวมถึงอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย ก็อาจจะมาจากการแพ้อาหารแบบแอบแฝงได้นะคะ
วิธีง่าย ๆ เพื่อรักษาร่างกายจากการแพ้แอบแฝง
วิธีนี้ง่ายมากเลยค่ะเพียงแค่หมุนเวียนเมนูอาหาร ไม่รับประทานอะไรซ้ำ ๆ นานเกินไป และถ้าเป็นไปได้ก็ให้เปลี่ยนแหล่งวัตถุดิบที่ใช้ในการประกอบอาหารอยู่บ่อย ๆ เพราะหากพืชผักที่เราเลือกมีสารตกค้าง ร่างกายของเราก็จะสะสมสารตกค้างเดิม ๆ ให้มีปริมาณมากขึ้นกระทั่งส่งผลเสียกับร่างกายขึ้นมา